ระบบฐานทัพอากาศ

จาก Kancolle Wiki Thai 改三

ระบบฐานทัพอากาศ (基地航空隊) เป็นระบบที่เข้ามาครั้งแรกเมื่ออีเวนท์ฤดูใบไม้ผลิ 2016 โดยเป็นระบบที่ทำให้ผู้เล่นสามารถส่งเครื่องบินจากฐานทัพไปช่วยกองเรือจู่โจมศัตรูได้ ปัจจุบันระบบนี้ยังคงมีให้ใช้ในอีเวนท์และด่านปกติ World 6 เท่านั้น

แนะนำเบื้องต้น

เครื่องบินทุกประเภทสามารถใช้ในระบบนี้ได้หมดยกเว้น カ号観測機, 三式指揮連絡機(対潜) เท่านั้นที่ไม่สามารถใช้ได้ โดยในหนึ่งฐานนั้น จะบรรจุเครื่องบินลงไปได้สูงสุด 4 หน่วย(ช่อง) และในการติดตั้งเครื่องบินนั้นจะมีค่าใช้จ่ายด้วย โดยจะเสียเป็น บอกไซต์ บอกไซต์จำนวนนึง (เช็คจำนวนค่าใช้จ่ายได้ที่หัวข้อตารางระยะการบินและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งของเครื่องบิน) เมื่อเตรียมเครื่องบินพร้อมแล้ว เวลาจะลงด่านจะปรากฏแถบสีเขียวอยู่ใต้ปุ่มลงด่าน เป็นการบอกว่าเครื่องบินเตรียมการพร้อมแล้ว ดังรูปตัวอย่างด้านล่าง

เครื่องบินในระบบฐานทัพอากาศนั้นเมื่อใช้ไปสักพักติดต่อกันจะมีความเหนื่อยด้วย และเมื่อใช้เสร็จ บางครั้งจะต้องเติมน้ำมันและบอกไซต์จากการที่เครื่องบินร่วงตกหรือเสียหายไปด้วย

เครื่องบินที่ถูกเปลี่ยนออกจะขึ้นข้อความ 配置転換中 โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 12 นาทีในการเอาออก
ในกรณีที่ลากเครื่องบินออกจะขึ้นข้อความ 配置転換中 ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถติดเครื่องบินใดๆ ลงไปในช่องดังกล่าวได้ในระยะเวลาเปลี่ยนออก

หากต้องการเปลี่ยนเครื่องบินหรือเอาเครื่องบินออกจากฐานทัพอากาศก็สามารถทำได้เลยด้วยการกดสลับเครื่องบินหรือลากเครื่องบินออกจากช่อง แต่เครื่องบินที่ถูกเปลี่ยนออกจะใช้ระยะเวลาประมาณ 12 นาทีในการเอาออก โดยเครื่องบินที่ถูกเปลี่ยนออกจะขึ้นข้อความ 配置転換中 ไว้ ซึ่งในระหว่างนี้จะไม่สามารถติดเครื่องบินดังกล่าวกลับลงฐานทัพอากาศหรือติดให้กับเรือได้ และในกรณีที่ลากเครื่องบินออกจากช่องจะขึ้นข้อความ 配置転換中 เช่นกัน แต่การลากออกจากช่องจะทำให้ไม่สามารถติดเครื่องบินใดๆ ลงไปในช่องดังกล่าวได้ในช่วงเวลาที่กำลังเปลี่ยนออก

ระบบยศเครื่องบินมีผลในระบบนี้ด้วย ถ้าเครื่องบินตก ยศก็หาย แต่ก็สามารถเก็บยศเครื่องบินได้จากระบบนี้เช่นกัน

เครื่องบินแต่ละประเภทนั้นจะมีการกำหนดจำนวนเครื่องบินต่อช่องไว้ตายตัว โดยประเภทเครื่องบินสอดแนม(เครื่องบินทะเล เครื่องบินทะเลสอดแนม / เครื่องบินสอดแนม เครื่องบินสอดแนม / เรือบิน เรือบิน) จะมีจำนวนเครื่องบินต่อช่อง = 4 ลำ ในขณะที่เครื่องบินอื่นๆ นอกเหนือจากนั้นจะมีจำนวนเครื่องบินต่อช่อง = 18 ลำ

หมายเหตุ: หากผู้เล่นยังไม่สามารถใช้ระบบฐานทัพอากาศใน World 6 ได้หรือไม่ใช่ช่วงอีเวนท์นั้น สามารถทำการล็อกเครื่องบินฐานทัพจู่โจมหรือเครื่องบินสกัดกั้นข้าศึกได้ด้วยการเข้าหน้าปรับแต่งเรือแล้วกดช่องสวมใส่อาวุธยุทโธปกรณ์ของเรือ จากนั้นให้เลือกฟิลเตอร์สำหรับแบ่งประเภทยุทโธปกรณ์ดังต่อไปนี้

  • กรณีเครื่องบินฐานทัพจู่โจมให้เลือกฟิลเตอร์เป็น
  • กรณีเครื่องบินสกัดกั้นข้าศึกให้เลือกฟิลเตอร์เป็น 「・・・」โดยเครื่องบินสกัดกั้นข้าศึกจะอยู่หน้าสุดท้ายของฟิลเตอร์นี้

ฐานทัพอากาศในด่านปกติ

ตัวอย่างปุ่มเรียกใช้งานระบบสำหรับด่านปกติ
เมื่อคลิกที่แถบสีเขียวด้านบน จะขึ้นข้อความถามว่าจะเปิดฐานเพิ่มมั้ย เมื่อกดปุ่มซ้ายก็จะเปิดให้ในทันที

สำหรับด่านปกติ World 6 นั้นจะต้องทำเควสท์ B80, F43 เสียก่อน จึงจะสามารถใช้ระบบฐานทัพอากาศได้ และถ้าจบเควสท์ B81 ได้ก็จะได้ฐานมาทั้งหมด 2 ฐาน สำหรับฐานที่ 3 นั้นในขณะนี้จะต้องทำการซื้อเป็นไอเท็มมอลล์ที่ชื่อ กองโยธาธิการ (設営隊) ในราคา 800 เยนเท่านั้น สำหรับฐานที่ 2 เป็นต้นไปนั้น จะต้องมาทำการเปิดเอาเองในหน้าระบบฐานทัพอากาศ โดยสามารถเข้าได้ด้วยการคลิกไปที่ปุ่มสีฟ้าที่แปะอยู่หน้าแบนเนอร์ด่านที่สามารถใช้งานระบบนี้ได้หรือปุ่มที่มีคำว่า「基地航空隊」ตรงแถบปุ่มพวกออกรบ/PVP/สำรวจ จากนั้นก็คลิกที่แถบสีเขียวด้านบน จะขึ้นข้อความถามว่าจะเปิดฐานเพิ่มมั้ย เมื่อกดปุ่มซ้ายก็จะเปิดให้ในทันที (ในกรณีที่ไม่มีไอเท็มกองโยธาธิการ (設営隊) เหลืออยู่ในตัว แถบสีเขียวจะกลายเป็นสีดำ ไม่สามารถเปิดใช้งานได้)

โดยด่านที่สามารถใช้ระบบฐานทัพอากาศคือ

  1. 6-4:สามารถส่งโหมดโจมตีได้ 1 ฐานและจะไม่มีการลอบโจมตีเกิดขึ้น
  2. 6-5:สามารถส่งโหมดโจมตีได้ 2 ฐานและจะมีการลอบโจมตีสูงสุด 1 ครั้งต่อรอบ แต่ถ้าเกจศัตรูถูกทำลายไปแล้วจะไม่มีการลอบโจมตีอีก
  • สำหรับโหมดป้องกันน่านฟ้าหรือกันฐานนั้น ฐานในโหมดดังกล่าวจะไม่นับรวมกับลิมิตข้างบน
ตัวอย่างปุ่มเรียกใช้งานระบบสำหรับด่านอีเวนท์

ฐานทัพอากาศในด่านอีเวนท์

สำหรับอีเวนท์นั้น เมื่อผ่านด่านอีเวนท์มากขึ้น ก็จะมีฐานให้ใช้เพิ่มขึ้นเอง (แต่ละอีเวนท์จะปลดล็อกจำนวนฐานไม่เหมือนกัน) นอกจากนี้ ด่านในอีเวนท์จะมีการกำหนดจำนวนฐานในโหมดโจมตีที่สามารถใช้ในด่านนั้นๆ อีกด้วย

โหมดในระบบ

ถ้าอ่านคันจิไม่ออก ให้ใช้วิธีสังเกตจากแสงที่เรืองขึ้นมาข้างๆ ป้ายเอา จะมีแบ่งแยกสีอยู่ โดยโหมดในระบบนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 5 โหมดคือ

โหมดเตรียมพร้อม 待機 (ไม่มีสี)

เป็นโหมดเริ่มต้นของฐานทัพอากาศทุกฐาน ถ้าตั้งโหมดนี้ไว้ เมื่อเราส่งกองเรือออกรบจะไม่มีการส่งเครื่องบินในฐานทัพไปออกรบ และโหมดนี้สามารถใช้ฟื้นค่าความเหนื่อยของเครื่องบินได้

ในกรณีที่ฐานทัพนั้นๆ ไม่มีเครื่องบินติดอยู่เลยหรือถูกถอดออกจนหมด ระบบจะตั้งโหมดของฐานทัพนั้นๆ เป็นโหมดนี้โดยอัตโนมัติ

โหมดโจมตี 出撃 (สีแดง)

เป็นโหมดสำหรับส่งฐานนั้นโจมตีศัตรู สามารถใช้ฐานเดียวกันในการโจมตีได้สูงสุด 2 โหนดหรือจะให้ช่วยกันโจมตีกันที่โหนดเดียวก็ได้ โดยวิธีเลือกคือ

  • คลิกไปที่โหนดที่ต้องการจะโจมตีก็จะปรากฏเป้าขึ้นมา ในกรณีที่ฐานนั้นทำการเลือกแยกโหนด จะปรากฏเลข "1, 2" แต่ในกรณีที่เลือกโหนดเดียวกัน จะปรากฏตัวอักษร "集中" แทน
  • เมื่อเลือกเสร็จให้ทำการกดปุ่มสีเขียวเพื่อยืนยันการส่งโจมตี
  • แต่ถ้าต้องการยกเลิกเป้าที่เลือกไว้ให้กดปุ่มสีแดงที่อยู่ข้างๆ ปุ่มยืนยันการส่งโจมตี

เพิ่มเติม:

  • ฐานทัพอากาศในโหมดโจมตีทุกรอบนั้นยังคงใช้รูปแบบเฟสเหมือนกันกับการรบน่านฟ้า (ยกเว้นการโจมตีจากเครื่องบินของศัตรู)
  • ถ้าหากว่าในโหนดดังกล่าวมีศัตรูที่ติดตั้งเครื่องบินอยู่ เครื่องบินของศัตรูก็จะทำการออกมาสกัดกั้นเครื่องบินของฐานทัพอากาศ
    • ระบบฐานทัพอากาศนี้จะสามารถลดจำนวนเครื่องบินของศัตรูได้จำนวนหนึ่ง (ซึ่งจะเป็นผลทำให้กองเรือหลักเราใช้ค่าต่อสู้น่านฟ้าในการยึดครองน่านฟ้าน้อยลง)
  • ระบบฐานทัพอากาศจะไม่โชว์รูปแบบสถานะบนน่านฟ้าขึ้นมาให้เห็น
  • รูปแบบสถานะบนน่านฟ้าจะถูกคำนวณใหม่ทุกรอบที่มีการโจมตีของฐานทัพอากาศ โดยสำหรับฝั่งศัตรูจะอิงจากจำนวนเครื่องบินที่เหลืออยู่จากรอบก่อนหน้า
  • ฐานทัพอากาศสามารถส่งลงโหนดลอบโจมตีทางอากาศ (โหนดลูกศร ↓) ได้
  • ในบางครั้ง ถ้าหากว่าเครื่องบินของฐานที่ทำการส่งไปนั้นเกิดถูกยิงตกขึ้นมาจำนวนหนึ่ง ระบบจะแสดงข้อความบ่งบอกดังต่อไปนี้
    • 基地航空隊 攻撃機未帰還機多数!(ตัวอักษรสีเหลือง): จะปรากฏขึ้นในกรณีที่เครื่องบินในฐานถูกยิงตกจนเหลือต่ำกว่า 40%
    • 基地航空隊 攻撃隊被害甚大! (ตัวอักษรสีส้ม): จะปรากฏขึ้นในกรณีที่เครื่องบินในฐานถูกยิงตกจนเหลือต่ำกว่า 25%
    • 基地航空隊 攻撃隊全滅! (ตัวอักษรสีแดง): จะปรากฏขึ้นในกรณีที่เครื่องบินในฐานถูกยิงตกจนหมดทุกลำ (เหลือ 0%)
  • ในกรณีที่ฐานนั้นๆ ทำการส่งโจมตีโหนดเดียวกันนั้น การต่อต้านอากาศยานของศัตรูจะโจมตีใส่เครื่องบินของฐานทุกรอบ แต่เมื่อถึงเวลากลับฐานหลัก จะมีเพียงแค่เครื่องบินที่ถูกยิงตกจากรอบที่ 2 เท่านั้นที่ถูกคำนวณ
    • นอกจากนี้ ดาเมจของรอบที่ 2 ของฐานนั้นจะคำนวณโดยไม่สนใจจำนวนเครื่องบินที่เสียไปในรอบที่ 1
    • อย่างไรก็ตาม ยศเครื่องบินยังคงลดลงตามการสูญเสียเครื่องบินของทุกรอบ
      • ทำให้บางครั้งเมื่อกลับไปเช็คหลังจบการรบแล้วพบว่าจำนวนเครื่องบินยังคงมีหลงเหลืออยู่ แต่ยศเครื่องบินหายไปจนหมด

ลำดับเฟสในโหมดโจมตีของฐานทัพอากาศ

ข้อมูลด้านล่างนี้เป็นเฉพาะของกรณีที่เป็นโหนดเริ่มศึกกลางวันตามปกติเท่านั้น

  • สอดแนม
  • เครื่องบินเจ็ทที่ติดไว้ในฐานทัพอากาศทำการโจมตี
  • เครื่องบินเจ็ทที่ติดไว้กับเรือทำการโจมตี
  • ฐานทัพอากาศที่ 1 ออกบินรอบที่ 1
    • ฐานทัพอากาศที่ 1 ออกบินรอบที่ 2 (ในกรณีที่ส่งฐานไปในโหนดเดียวกัน)
  • ฐานทัพอากาศที่ 2 ออกบินรอบที่ 1
    • ฐานทัพอากาศที่ 2 ออกบินรอบที่ 2 (ในกรณีที่ส่งฐานไปในโหนดเดียวกัน)
  • ฐานทัพอากาศที่ 3 ออกบินรอบที่ 1
    • ฐานทัพอากาศที่ 3 ออกบินรอบที่ 2 (ในกรณีที่ส่งฐานไปในโหนดเดียวกัน)
  • การรบน่านฟ้า
  • การรบเปิดฉาก
  • ศึกกลางวัน
  • ศึกกลางคืน

ค่าใช้จ่ายสำหรับออกบิน

กรณีที่ส่งเครื่องบินไปในโหมดโจมตีจะมีการคิดค่าออกบินด้วย (ส่วนนี้จะเห็นเมื่อกลับมาจากการรบแล้ว) โดยเครื่องบินจะมีการคิดค่าออกบินดังนี้

  • เครื่องบินฐานทัพจู่โจม
    • ค่าน้ำมัน = 1.5 x จำนวนเครื่องบินทั้งหมดที่มีในขณะนั้น (เศษปัดขึ้น)
    • ค่ากระสุน = 0.7 x จำนวนเครื่องบินทั้งหมดที่มีขณะนั้น (เศษปัดลง)
  • เครื่องบินอื่นๆ
    • ค่าน้ำมัน = จำนวนเครื่องบินทั้งหมดที่มีขณะนั้น
    • ค่ากระสุน = 0.6 x จำนวนเครื่องบินทั้งหมดที่มีขณะนั้น (เศษปัดขึ้น)

โดยเมื่อทำการคิดเป็นช่องแล้ว จะได้ดังนี้

  • เครื่องบินฐานทัพจู่โจม (18 ลำต่อช่อง) เสียน้ำมัน 27 หน่วย, กระสุน 12 หน่วย
  • เครื่องบินสอดแนม (4 ลำต่อช่อง) เสียน้ำมัน 4 หน่วย, กระสุน 3 หน่วย
  • เครื่องบินอื่นๆ รวมถึงเครื่องบินสกั้ดกั้นข้าศึก (18 ลำต่อช่อง) เสียน้ำมัน 18 หน่วย, กระสุน 11 หน่วย

หมายเหตุ: ในกรณีที่เครื่องบินร่วงหมดจนเหลือ 0 ลำนั้น ถ้าไม่เติมเครื่องบิน รอบต่อไปที่ทำการส่งไปโจมตี เครื่องบินในช่องดังกล่าวจะไม่ออกบิน ดังนั้นพึงระวังไว้ด้วย

สูตรพลังโจมตีระบบฐานทัพอากาศ

สูตรข้างล่างนี้เป็นสูตรสำหรับการโจมตีใส่เรือศัตรูที่เป็นประเภทเรือผิวน้ำเท่านั้น ในกรณีที่โจมตีใส่ศัตรูประเภทสถานที่ ให้อ่านที่หัวข้อสูตรพลังโจมตีกรณีโจมตีศัตรูสถานที่ และสำหรับกรณีที่โจมตีใส่เรือดำน้ำ ให้อ่านที่หัวข้อสูตรพลังโจมตีกรณีโจมตีเรือดำน้ำ

พลังโจมตีสุดท้าย = [ [พลังโจมตีพื้นฐาน] × ตัวแก้ไข Critical × ตัวแก้ไขยศเครื่องบิน] × ตัวแก้ไขระบบติดต่อ × ตัวแก้ไขเครื่องบินฐานทัพจู่โจม × ตัวแก้ไขพิเศษของเครื่องบินฐานทัพจู่โจม × ตัวแก้ไขพิเศษกองเรือผสมศัตรู
พลังโจมตีพื้นฐาน = ตัวแก้ไขประเภทเครื่องบิน × (ค่าตอร์ปิโดหรือค่าทิ้งระเบิด) × √(1.8 × จำนวนเครื่องบิน) + 25

  • การคำนวณในวงเล็บแบบ [ ] นั้น ในกรณีที่มีทศนิยมให้ทำการปัดลง
  • สำหรับเครื่องบินฐานทัพจู่โจมนั้น จะคิดเฉพาะค่าตอร์ปิโดเท่านั้น (ค่าทิ้งระเบิดจะไม่ถูกคิดในสูตรดังกล่าว)
  • ที่ขีดเส้นใต้คือเป็นการคำนวณก่อน Cap พลังโจมตี โดย Cap พลังโจมตีของเฟสฐานทัพอากาศจะเท่ากับ 150 เหมือนกับเฟสการรบน่านฟ้า
  • ตัวแก้ไขประเภทเครื่องบิน สามารถแบ่งได้ดังนี้
    • เครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด, เครื่องบินทิ้งระเบิด, เครื่องบินทะเลทิ้งระเบิด = 1.0
    • เครื่องบินฐานทัพจู่โจม = 0.8
    • เครื่องบินเจ็ทขับไล่-ทิ้งระเบิด = 0.7071 (≒1.0/√2)
  • ตัวแก้ไขยศเครื่องบิน = 1.0 ~ 1.2 (ขึ้นกับระดับของยศเครื่องบิน)
  • ตัวแก้ไขเครื่องบินฐานทัพจู่โจม สามารถแบ่งได้ดังนี้
    • เครื่องบินฐานทัพจู่โจม = 1.8
    • เครื่องบินประเภทอื่นนอกเหนือจากเครื่องบินฐานทัพจู่โจม = 1.0
  • ตัวแก้ไขพิเศษของเครื่องบินฐานทัพจู่โจม เป็นโบนัสเฉพาะของเครื่องบินฐานทัพจู่โจม จะได้ก็ต่อเมื่อทำการโจมตีใส่ศัตรูบางตัว (เช่น องค์หญิงเรือบรรทุกเครื่องบิน)
    • กรณีที่ทำการโจมตีใส่องค์หญิงเรือบรรทุกเครื่องบิน จะได้ตัวแก้ไขพิเศษประมาณ 3.2 ~ 3.4 เท่า
  • ตัวแก้ไขพิเศษกองเรือผสมศัตรู เป็นตัวแก้ไขที่จะได้เมื่อฐานทัพอากาศโจมตีใส่กองเรือผสมของศัตรู (ตัวแก้ไขนี้ไม่สนใจรูปแบบกองเรือของฝั่งเรา)
    • กรณีเจอกองเรือปกติของศัตรู = 1.0
    • กรณีเจอกองเรือผสมของศัตรู = 1.1
  • จำนวนเครื่องบินในสูตรคือจำนวนเครื่องบินที่เหลืออยู่ในช่องนั้นๆ (จำนวนเครื่องบินจะคิดตามเรียลไทม์)
  • ตัวแก้ไข Critical คือ 150% หรือ 1.5 เท่าเช่นเดียวกับดาเมจประเภทอื่น
  • ตัวแก้ไขก่อน Cap พลังโจมตีอย่างฟอร์เมชั่น, รูปแบบการเข้าปะทะจะไม่มีผลในการคำนวณดาเมจของการรบน่านฟ้า
  • รูปแบบสถานะการรบบนน่านฟ้านั้นไม่มีผลต่อดาเมจ
  • สำหรับเฟสเครื่องบินเจ็ทที่ติดตั้งในฐานทัพอากาศนั้นจะคิดคนละแบบกับสูตรด้านบนดังนี้
    • พลังโจมตีสุดท้าย (เฉพาะเฟสเครื่องบินเจ็ท) = [[(ค่าทิ้งระเบิด) × √(จำนวนเครื่องบิน) + 25] × ตัวแก้ไข Critical]

สูตรพลังโจมตีกรณีโจมตีศัตรูสถานที่

พลังโจมตีสุดท้าย = [ [ [พลังโจมตีพื้นฐาน × ตัวแก้ไขพิเศษฐานทัพอากาศ(ป้อมปืน/องค์หญิงเกาะร้าง) × ตัวแก้ไขพิเศษทิ้งระเบิด(องค์หญิงคลังเสบียง) + ตัวแก้ไขพิเศษฐานทัพอากาศ(องค์หญิงคลังเสบียง)] × ตัวแก้ไขพิเศษทิ้งระเบิด(ป้อมปืน/องค์หญิงเกาะร้าง)] × ตัวแก้ไข Critical × ตัวแก้ไขยศเครื่องบิน] × ตัวแก้ไขระบบติดต่อ × ตัวแก้ไขเครื่องบินฐานทัพจู่โจม
พลังโจมตีพื้นฐาน = ตัวแก้ไขประเภทเครื่องบิน × {(ค่าตอร์ปิโดหรือค่าทิ้งระเบิด) × √(1.8 × จำนวนเครื่องบิน) + 25}

  • การคำนวณในวงเล็บแบบ [ ] นั้น ในกรณีที่มีทศนิยมให้ทำการปัดลง
  • ตัวแก้ไขประเภทเครื่องบิน, ตัวแก้ไขยศเครื่องบิน, ตัวแก้ไขเครื่องบินฐานทัพจู่โจมนั้นใช้แบบเดียวกับสูตรคำนวณการโจมตีเรือผิวน้ำ อ่านได้ที่สูตรพลังโจมตีระบบฐานทัพอากาศ
  • ที่ขีดเส้นใต้คือเป็นการคำนวณก่อน Cap พลังโจมตี โดย Cap พลังโจมตีของเฟสฐานทัพอากาศจะเท่ากับ 150
  • ตัวแก้ไข Critical คือ 150% หรือ 1.5 เท่าเช่นเดียวกับดาเมจประเภทอื่น
  • สำหรับเครื่องบินฐานทัพจู่โจมนั้น จะคิดเฉพาะค่าทิ้งระเบิดเท่านั้น (ค่าตอร์ปิโดจะไม่ถูกคิดในสูตรดังกล่าว)
  • ตัวแก้ไขพิเศษฐานทัพอากาศนั้นคือตัวแก้ไขที่จะได้รับโดยไม่สนใจประเภทของเครื่องบินโจมตีในฐานทัพอากาศ ส่วนตัวแก้ไขพิเศษทิ้งระเบิดนั้นคือตัวแก้ไขเฉพาะเมื่อใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินฐานทัพจู่โจม โดยตัวแก้ไขทั้งสองแบบนั้นสามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้
    • เครื่องบินทะเลทิ้งระเบิดและเครื่องบินเจ็ททิ้งระเบิดกึ่งขับไล่นั้นยังไม่มีการยืนยันว่าได้ตัวแก้ไขพิเศษทิ้งระเบิดหรือไม่
    • สำหรับอสูรจิ๋วป้อมปืนและองค์หญิงเกาะร้างนั้น ตัวแก้ไขพิเศษฐานทัพอากาศจะอยู่ในส่วนของการคำนวณก่อน Cap พลังโจมตี ส่วนตัวแก้ไขพิเศษทิ้งระเบิดนั้นจะอยู่ในส่วนของการคำนวณหลัง Cap พลังโจมตี
    • สำหรับองค์หญิงคลังเสบียงนั้น ทั้งตัวแก้ไขพิเศษฐานทัพอากาศและตัวแก้ไขพิเศษทิ้งระเบิดนั้นจะอยู่ในส่วนของการคำนวณหลัง Cap พลังโจมตี
ประเภทศัตรู ตัวแก้ไขพิเศษฐานทัพอากาศ ตัวแก้ไขพิเศษทิ้งระเบิด
อสูรจิ๋วป้อมปืน ×1.6 ×1.55
องค์หญิงเกาะร้าง ×1.18 ×1.7
องค์หญิงคลังเสบียง +100 ×2.1

ตัวแก้ไขยศเครื่องบิน

  • ในกรณีของเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด, เครื่องบินทิ้งระเบิด และเครื่องบินฐานทัพจู่โจมที่มียศ นั้น จะได้โบนัสเพิ่มสำหรับตัวแก้ไขยศเครื่องบินอีกถึง 1.2 เท่า ทำให้เมื่อมีการโจมตีแบบ Critical จะได้พลังโจมตีเพิ่มประมาณ 1.5 x 1.2 เท่า
    • สำหรับเครื่องบินฐานทัพจู่โจมนั้น ได้รับการอัพเดตให้มีผลเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2018
  • ในส่วนของความแม่นยำกับโอกาสออก Critical ยังไม่ทราบข้อมูลแน่ชัด

การลาดตระเวนต่อต้านเรือดำน้ำของฐานทัพอากาศ

ตั้งแต่อัพเดตวันที่ 17 พฤศจิกายน 2017 เป็นต้นมานั้น ฐานทัพอากาศที่ติดเครื่องบินที่สามารถลาดตระเวนต่อต้านเรือดำน้ำไว้นั้น จะสามารถมองเห็นและโจมตีเรือดำน้ำศัตรูได้ ซึ่งเครื่องบินดังกล่าวมีเงื่อนไขคือต้องเป็นเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด, เครื่องบินฐานทัพจู่โจม, เครื่องบินทะเลสอดแนมที่มีค่า ASW ตั้งแต่ +7 หน่วยขึ้นไปเท่านั้น โดยเครื่องบินที่สามารถใช้ได้ ณ เวลาปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้

No. ชื่อ สเตตัส ระยะการบิน
270 東海(九〇一空) ค่าทิ้งระเบิด+2, ค่าต่อต้านเรือดำน้ำ/ASW+11, ค่าความแม่นยำ+1, ค่าค้นหาศัตรู/LOS+6 8
269 試製東海 ค่าทิ้งระเบิด+2, ค่าต่อต้านเรือดำน้ำ/ASW+10, ค่าค้นหาศัตรู/LOS+5 8
244 Swordfish Mk.III(熟練) ค่าปืนใหญ่+4, ค่าตอร์ปิโด+8, ค่าต่อต้านเรือดำน้ำ/ASW+10, ค่าความแม่นยำ+4, ค่าค้นหาศัตรู/LOS+5 3
257 TBM-3D ค่าปืนใหญ่+2, ค่าตอร์ปิโด+9, ค่าต่อสู้อากาศยาน+1, ค่าต่อต้านเรือดำน้ำ/ASW+8, ค่าความแม่นยำ+2, ค่าค้นหาศัตรู/LOS+4 6
83 天山(九三一空) ค่าตอร์ปิโด+9, ค่าต่อต้านเรือดำน้ำ/ASW+8, ค่าค้นหาศัตรู/LOS+2 5
239 零式水上偵察機11型乙(熟練) ค่าปืนใหญ่+2, ค่าต่อสู้อากาศยาน+1, ค่าต่อต้านเรือดำน้ำ/ASW+8, ค่าความแม่นยำ+3, ค่าค้นหาศัตรู/LOS+8 7
82 九七式艦攻(九三一空) ค่าตอร์ปิโด+6, ค่าต่อต้านเรือดำน้ำ/ASW+7, ค่าค้นหาศัตรู/LOS+2 4
238 零式水上偵察機11型乙 ค่าทิ้งระเบิด+1, ค่าต่อสู้อากาศยาน+1, ค่าต่อต้านเรือดำน้ำ/ASW+7, ค่าความแม่นยำ+2, ค่าค้นหาศัตรู/LOS+6 7

หมายเหตุ: เครื่องบินทะเลสอดแนมนั้นมีการอัพเดตให้สามารถใช้ได้เมื่ออัพเดตวันที่ 11 ธันวาคม 2017

สูตรพลังโจมตีกรณีโจมตีเรือดำน้ำ

สูตรข้างล่างนี้เป็นสูตรสำหรับการโจมตีเรือดำน้ำเท่านั้น โดยสูตรการคำนวณนี้จะยกเว้นเครื่องบินทะเลสอดแนม

พลังโจมตีสุดท้าย = [ [พลังโจมตีพื้นฐาน] × ตัวแก้ไข Critical × ตัวแก้ไขยศเครื่องบิน] × ตัวแก้ไขระบบติดต่อ × ตัวแก้ไขเครื่องบินฐานทัพจู่โจม
พลังโจมตีพื้นฐาน = {ค่า ASW × √(1.8 × จำนวนเครื่องบิน) + 25} × {A + (0 ~ สุ่มตัวเลข B)}

  • การคำนวณในวงเล็บแบบ [ ] นั้น ในกรณีที่มีทศนิยมให้ทำการปัดลง
  • เครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด, เครื่องบินทิ้งตอร์ปิโดกลางคืน (ที่มีค่า ASW 7 หน่วยขึ้นไป): A = 0.35, B = 0.45
  • เครื่องบินฐานทัพจู่โจม (ตระกูล 東海): A = 0.7, B = 0.3
  • ตัวแก้ไขยศเครื่องบิน = 1.0 ~ 1.2 (ขึ้นกับระดับของยศเครื่องบิน)
  • ตัวแก้ไขเครื่องบินฐานทัพจู่โจม สามารถแบ่งได้ดังนี้
    • เครื่องบินฐานทัพจู่โจม = 1.8
    • เครื่องบินประเภทอื่นนอกเหนือจากเครื่องบินฐานทัพจู่โจม = 1.0

โหมดป้องกันน่านฟ้า 防空 (สีเหลือง)

เป็นโหมดสำหรับป้องกันฐานทัพของเราจากการลอบโจมตีทางอากาศของศัตรู วิธีกันน่านฟ้านั้นสามารถทำได้ด้วยการตั้งฐานที่ต้องการจะให้ป้องกันน่านฟ้าเป็นโหมดนี้ เครื่องบินที่ควรใช้ในโหมดนี้ควรเป็นพวกเครื่องบินขับไล่และสกัดกั้นข้าศึกทั้งหลาย

อ่านเกี่ยวกับการคำนวณค่าต่อสู้น่านฟ้าได้ที่หัวข้อการคำนวณค่าต่อสู้น่านฟ้า

อัตราการยิงเครื่องบินศัตรูตกแบบสัดส่วน

สูตรดังต่อไปนี้จะเป็นการคำนวณอัตราที่จะยิงเครื่องบินของศัตรูตกแบบสัดส่วนในโหมดป้องกันน่านฟ้าเท่านั้น
อัตราการยิงเครื่องบินศัตรูตกแบบสัดส่วน [%] = อัตราดั้งเดิมของการยิงเครื่องบินตก + 10 × จำนวนช่องเครื่องบินสกัดกั้นข้าศึกในฐานทัพ + 7 × จำนวนช่องเครื่องบินกองทัพบกในฐานทัพ

  • อัตราดั้งเดิมของการยิงเครื่องบินตกนั้น จะแตกต่างจากการรบน่านฟ้าปกติเล็กน้อยดังนี้
    • กรณีสูญเสียอำนาจบนน่านฟ้า (AI): 5.5%
    • กรณีเสียเปรียบทางอากาศ (AD): 30%
    • กรณีเสมอทางอากาศ (AP): ไม่ทราบ
    • กรณีเหนือกว่าทางอากาศ (AS): 65%
    • กรณีรับประกันอำนาจบนน่านฟ้า (AS+): 80%
  • ในกรณีที่ใช้เครื่องบินสกัดกั้นข้าศึกหรือเครื่องบินกองทัพบกนั้น จะได้โบนัสในการยิงเครื่องบินของศัตรูตกด้วย
    • เครื่องบินสกัดกั้นข้าศึก 1 ช่องจะได้โบนัสถึง +10% แต่เครื่องบินกองทัพบก 1 ช่องนั้นจะได้โบนัส +7% แทน
      • ตัวอย่าง: ติด 雷電 1 ช่องกับ 一式戦 隼II型 2 ช่องในฐานทัพอากาศโหมดป้องกันน่านฟ้าและได้ผลลัพธ์เป็นสถานะเหนือกว่าทางอากาศ (อัตราดั้งเดิม = 65%) นั้น จะได้อัตราการยิงเครื่องบินศัตรูตกแบบสัดส่วน = 65+10+7*2 = 89%
    • เครื่องบินกองทัพบกตระกูล 飛燕 นั้นในระยะแรกได้โบนัส +10% แต่ในภายหลังโบนัสได้ถูกเปลี่ยนจนเหลือ +7% เท่ากับเครื่องบินกองทัพบกชนิดอื่นๆ
    • เครื่องบินสอดแนมอย่าง 彩雲 นั้นไม่มีโบนัสยิงเครื่องบินของศัตรูตกแต่อย่างใด
  • ในทางทฤษฎีนั้น การคำนวณด้วยอัตราดั้งเดิมและโบนัสของเครื่องบินสกัดกั้นข้าศึกหรือเครื่องบินกองทัพบกอาจได้ผลลัพธ์เกิน 100% แต่ในความเป็นจริงแล้ว อัตราการยิงเครื่องบินศัตรูตกแบบสัดส่วนไม่มีทางได้ 100% แต่อย่างใด
    • อัตราดั้งเดิมกรณีเหนือกว่าทางอากาศ 65% + โบนัสเครื่องบินสกัดกั้นข้าศึกหรือเครื่องบินกองทัพบก 40% นั้นจะได้อัตราการยิงเครื่องบินศัตรูตกแบบสัดส่วนประมาณ 97~99% เท่านั้น ซึ่งมีโอกาสเล็กน้อยที่ฐานทัพอากาศจะได้รับดาเมจอยู่ดี

โหมดลี้ภัย 退避 (สีฟ้า)

ถ้าตั้งโหมดนี้ไว้ เมื่อเราส่งกองเรือออกรบจะไม่มีการส่งเครื่องบินในฐานทัพไปออกรบ เป็นโหมดสำหรับเอาเครื่องบินไปหลบซ่อนเวลาถูกลอบโจมตี ทำให้เมื่อมีการลอบโจมตี จะไม่มีการสูญเสียเครื่องบินแต่อย่างใด

โหมดพัก 休息 (สีเขียว)

ถ้าตั้งโหมดนี้ไว้ เมื่อเราส่งกองเรือออกรบจะไม่มีการส่งเครื่องบินในฐานทัพไปออกรบ เป็นโหมดที่ใช้ฟื้นค่าความเหนื่อยของเครื่องบิน เมื่อตั้งโหมดนี้ไว้ ความเร็วในการรีเจนบอกไซต์จะลดลงไปครึ่งหนึ่ง (ผลข้างเคียงนี้ไม่มีผลกับผู้ที่มีบอกไซต์เกินลิมิตรีเจนทรัพยากร)

ระยะการบินของเครื่องบิน

สำหรับโหมดโจมตีเท่านั้น

หัวข้อ 戦闘行動半径 จะอยู่ในกรอบสีแดงดังกล่าว

สามารถดูได้ในช่องเลือกเครื่องบินของระบบแล้วหาหัวข้อ 戦闘行動半径 (อยู่ด้านหน้าสเตตัสเครื่องบิน) โดยแต่ละประเภทเครื่องบินนั้นจะมีระยะการบินไม่เท่ากัน ถ้าใส่เครื่องบินที่มีระยะการบินน้อยก็จะไปได้ไม่ไกลนักและบางทีก็อาจจะไปไม่ถึงบอสด้วย การนับระยะการบินที่ส่งไปถึงโหนดนั้นๆ จะดูจากระยะห่างของโหนดกับฐานทัพอากาศที่ปรากฏบนแผนที่ด่าน (สัญลักษณ์ AB)

ตั้งแต่อัพเดต 12/08/2016 (อีเวนท์ฤดูร้อน 2016) ไปนั้น ได้มีการเปลี่ยนวิธีคำนวณระยะการบินของฐาน โดยจะคิดจากระยะการบินที่น้อยที่สุดในฐานนั้นๆ และในกรณีที่อยากส่งไปให้ไกลกว่าเดิมก็จะต้องติดเครื่องบินประเภทสอดแนม (เครื่องบินสอดแนม/เครื่องบินทะเลสอดแนม/เรือบิน) ไปด้วย

สูตรหาระยะการบินต่อ 1 ฐาน = ค่าระยะการบินที่น้อยที่สุดในฐานนั้นๆ + ระยะการบินที่ได้เพิ่ม
ระยะการบินที่ได้เพิ่ม = √(ค่าระยะการบินที่มากที่สุดของเครื่องบินประเภทสอดแนมในฐานนั้นๆ - ค่าระยะการบินที่น้อยที่สุดในฐานนั้นๆ)

  • ทศนิยม 1 ตำแหน่งให้ปัดเศษทิ้ง
  • ค่าระยะการบินที่ได้เพิ่มสูงสุดจะอยู่ที่ +3 ถ้าคำนวณออกมาเกินกว่านี้ให้คิดเหลือ +3 ทั้งหมด
ตารางระยะการบินเมื่อบวกระยะการบินที่ได้เพิ่มจากเครื่องบินประเภทสอดแนม
ชื่อเครื่องบิน ระยะการบินที่น้อยที่สุดในฐาน + ระยะการบินที่ได้เพิ่ม
2 3 4 5 6 7 8 9 10
二式大艇 20 +3 → 5 +3 → 6 +3 → 7 +3 → 8 +3 → 9 +3 → 10 +3 → 11 +3 → 12 +3 → 13
PBY-5A Catalina 10 +3 → 5 +3 → 6 +2 → 6 +2 → 7 +2 → 8 +2 → 9 +1 → 9 +1 → 10
試製景雲(艦偵型) 8 +2 → 4 +2 → 5 +2 → 6 +2 → 7 +1 → 7 +1 → 8
彩雲(東カロリン空) 8 +2 → 4 +2 → 5 +2 → 6 +2 → 7 +1 → 7 +1 → 8
彩雲 8 +2 → 4 +2 → 5 +2 → 6 +2 → 7 +1 → 7 +1 → 8
零式水上偵察機 7 +2 → 4 +2 → 5 +2 → 6 +1 → 6 +1 → 7
二式艦上偵察機 5 +2 → 4 +1 → 4 +1 → 5

ตารางระยะการบินและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งของเครื่องบิน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่หน้า ตารางระยะการบินและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งของเครื่องบินในระบบฐานทัพอากาศ

การลอบโจมตีทางอากาศของศัตรู

ฉากการลอบโจมตีของศัตรู

สำหรับด่านที่สามารถใช้ระบบฐานทัพอากาศได้นั้น บางครั้งเมื่อเดินทางไปถึงโหนดใดโหนดหนึ่ง (มักจะเริ่มตั้งแต่โหนดที่ 2 เป็นต้นไป) จะมีการสุ่มลอบโจมตีฐานทัพจากศัตรูเกิดขึ้น (จะมีเสียงไซเรนดังขึ้นมาและแถบป้ายเตือนภัยปรากฏขึ้นกลางหน้าจอเกม) โดยจำนวนครั้งในการลอบโจมตีจะขึ้นอยู่กับด่าน ทั้งนี้ การจะป้องกันฐานจากการลอบโจมตีสามารถทำได้ด้วยการตั้งฐานใดก็ได้ให้เป็นโหมดป้องกันน่านฟ้า

  • ถ้าฐานทัพใดฐานทัพหนึ่งได้รับดาเมจจากการลอบโจมตีไปนั้นก็จะสูญเสียทรัพยากรส่วนหนึ่ง โดยทรัพยากรที่ต้องเสียไปนั้นจะสุ่มระหว่าง น้ำมัน น้ำมันหรือ บอกไซต์ บอกไซต์
    • ทรัพยากรที่เสียไปจะคิดจาก = ผลรวมของดาเมจที่ได้รับ × 0.9 + 0.1 (กรณีมีทศนิยมให้ปัดเศษขึ้น)
  • ในกรณีที่ทุกฐานทัพได้รับดาเมจรวมกันน้อยกว่า 50 จะปรากฏข้อความสีส้มดังรูปแรก
  • ในกรณีที่ฐานทัพใดฐานทัพหนึ่งได้รับดาเมจตั้งแต่ 50 ขึ้นไปนั้น จะปรากฏข้อความสีแดงดังรูปที่สอง
  • ฐานทัพที่ได้รับดาเมจตั้งแต่ 50 ขึ้นไปนั้นก็จะสูญเสียเครื่องบินในฐานทัพนั้นๆ ไปด้วย โดยเครื่องบินที่เสียไปนั้นจะเป็นเครื่องบินที่ติดอยู่ในช่องแรกสุดของฐานทัพนั้นๆ จำนวน 1 ~ 4 ลำ
    • ตัวเลขดาเมจไม่มีผลกับจำนวนเครื่องบินที่สูญเสียไป หมายความว่าไม่ว่าจะโดนดาเมจ 50 หรือ 150 จำนวนเครื่องบินที่จะสูญเสียไปยังคงเป็น 1 ~ 4 ลำ
    • การลอบโจมตีนั้นจะไม่สามารถลดจำนวนเครื่องบินจนเหลือ 0 ลำได้ (สมมติว่าถ้ามีจำนวนเครื่องบินเหลืออยู่ 1 ลำ ต่อให้โดนดาเมจ 50 ขึ้นไปจากการลอบโจมตี จำนวนเครื่องบินก็จะยังเหลือ 1 ลำ)
    • ถ้าเครื่องบินที่ติดในช่องแรกสุดของฐานทัพที่ได้รับดาเมจตั้งแต่ 50 ขึ้นไปมีจำนวนเครื่องบินเท่ากับ 0 ลำ เครื่องบินที่ติดอยู่ในช่องที่สองของฐานทัพนั้นจะสูญเสียเครื่องบินแทน (จำนวนที่สูญเสียยังคิดเหมือนเดิม)
    • ถ้าตั้งฐานทัพเป็นโหมดลี้ภัย (退避) เมื่อถูกลอบโจมตีแล้วได้รับดาเมจตั้งแต่ 50 ขึ้นไป จะไม่สูญเสียเครื่องบินแต่อย่างใด (แต่ยังคงสูญเสียทรัพยากร)
  • ในกรณีที่ทุกฐานทัพได้รับดาเมจรวมกันเท่ากับ 0 จะปรากฏข้อความสีขาวดังรูปที่สาม

ค่าใช้จ่ายในการเติมเครื่องบินที่หายไป

ในบางครั้งเมื่อใช้ฐานทัพเสร็จ จะต้องเติมน้ำมันและบอกไซต์จากการที่เครื่องบินร่วงตกหรือสูญเสียไปเพราะการลอบโจมตีทางอากาศอีกด้วย โดยจะมีอัตราการคำนวณดังนี้

  • จำนวนน้ำมันที่ต้องใช้ = จำนวนเครื่องบินที่หายไป x 3
  • จำนวนบอกไซต์ที่ต้องใช้ = จำนวนเครื่องบินที่หายไป x 5

การคำนวณค่าต่อสู้น่านฟ้า

  • เครื่องบินขับไล่, เครื่องบินทิ้งระเบิด-ขับไล่, เครื่องบินกองทัพบกที่ได้รับการพัฒนาแล้ว (ตีบวก) จะมีโบนัสค่า AA สำหรับการคำนวณค่าต่อสู้น่านฟ้าด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ที่ โบนัสจากการพัฒนาอาวุธของเครื่องบิน
  • โบนัสยศเครื่องบินในกรณีของเครื่องบินสกัดกั้นที่มียศ >> จะได้ +25 (เหมือนกับเครื่องบินขับไล่)
  • โบนัสยศเครื่องบินในกรณีของเครื่องบินฐานทัพจู่โจมที่มียศ >> จะได้ +3 เหมือนกับเครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด
  • ค่า AA และโบนัสยศเครื่องบินของเครื่องบินสอดแนมกับเครื่องบินทะเลสอดแนมนั้นสามารถนำมาคิดค่าต่อสู้น่านฟ้าได้
  • โบนัสยศเครื่องบินในกรณีของเครื่องบินสอดแนมกับเครื่องบินทะเลสอดแนมที่มียศ >> จะได้ +3
    • เครื่องบินสอดแนมที่ได้รับการพัฒนาแล้ว (ตีบวก) ไม่เพิ่มค่าต่อสู้น่านฟ้าให้แต่อย่างใด
  • ค่าต่อสู้น่านฟ้าศัตรูในโหมดโจมตีกับโหมดป้องกันน่านฟ้านั้น จะคิดค่า AA จากเครื่องบินทะเลสอดแนมของศัตรูด้วย

โหมดโจมตี

สูตรคำนวณค่าต่อสู้น่านฟ้า = ผลรวมของ [(ค่า AA + (ค่าสกัดกั้น × 1.5) + โบนัสค่า AA จากการพัฒนาอาวุธ) × √(จำนวนเครื่องบินในช่อง) + โบนัสยศเครื่องบิน]

ตารางเปรียบเทียบค่าต่อสู้น่านฟ้า

ค่าสเตตัสรวม
(AA, สกัดกั้น)
ชื่อเครื่องบิน ระยะการบิน ค่าต่อสู้น่านฟ้าเมื่อคิด
ที่ 18 ลำและยศ >> (EXP = 120)
18.5 一式戦 隼II型(64戦隊) 7 103
16 Spitfire Mk.IX(熟練) 4 93
15 三式戦 飛燕(飛行第244戦隊) 4 89
震電改 2
14 零式艦戦53型(岩本隊)★max 6 84
13.5 三式戦 飛燕一型丁 4 82
紫電二一型 紫電改 4
13 烈風(六〇一空)★max 5 80
12.5 一式戦 隼III型甲(54戦隊) 7 78
三式戦 飛燕 3
12 零戦52型丙(付岩井小隊)★max 6 76
烈風 一一型 5
Spitfire Mk.V 5
11.5 一式戦 隼III型甲 6 74
四式戦 疾風 5
11 零式艦戦52型(熟練)★max 6 72
零戦52型丙(六〇一空)★max 6
烈風(六〇一空) 5
10 零式艦戦21型(熟練)★max 7 67
試製烈風 後期型 5
F6F-5 5
9.5 紫電一一型 3 65
9 零式艦戦52型(熟練) 6 63
零戦52型丙(六〇一空) 6
一式戦 隼II型 6
雷電 2
8.5 Spitfire Mk.I 4 61
8 零式艦戦21型(熟練) 7 59
6 零式艦戦52型 6 50
5 零式艦戦21型 7 46
ค่าสเตตัสรวม
(AA)
ชื่อเครื่องบิน ระยะการบิน ค่าต่อสู้น่านฟ้าเมื่อคิด
ที่ 18 ลำ (EXP = 0)
9.5 零戦62型(爆戦/岩井隊)★max 5 40
7 F4U-1D 6 29
6 爆装一式戦 隼III型改(55戦隊) 5 25
4 一式陸攻 三四型 8 16
3 一式陸攻 二二型甲 10 12
2 一式陸攻 9 8
1 九六式陸攻 8 4

โหมดป้องกันน่านฟ้า

สูตรคำนวณค่าต่อสู้น่านฟ้ารวมทั้งฐาน (4 ช่อง) = [ผลรวมของค่าต่อสู้น่านฟ้าทุกช่อง × ตัวแก้ไขเครื่องบินสอดแนม]
สูตรคำนวณค่าต่อสู้น่านฟ้าต่อ 1 ช่อง = [(ค่า AA + ค่าสกัดกั้น + (ค่าต่อต้านระเบิด × 2) + โบนัสค่า AA จากการพัฒนาอาวุธ) × √(จำนวนเครื่องบินในช่อง) + โบนัสยศเครื่องบิน]

  • ค่า AA, สกัดกั้น, ต่อต้านระเบิดคือสเตตัสเครื่องบิน ซึ่งเครื่องบินสกัดกั้นข้าศึกกับเครื่องบินกองทัพบกจะมีครบทั้งสามอย่าง
  • ตัวแก้ไขเครื่องบินสอดแนมคิดจากค่า LoS ของเครื่องบินนั้นๆ โดยแบ่งได้ดังนี้
ค่า LoS เครื่องบินทะเลสอดแนม/เรือบิน เครื่องบินสอดแนม
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 1.1 1.2
8 1.13 -
9 หรือมากกว่านั้น 1.16 1.3

ตารางเปรียบเทียบค่าต่อสู้น่านฟ้า

ค่าสเตตัสรวม
(AA, สกัดกั้น, ต่อต้านระเบิด)
ชื่อเครื่องบิน ค่าต่อสู้น่านฟ้าเมื่อคิด
ที่ 18 ลำและยศ >> (EXP = 120)
โบนัสยิงเครื่องบิน
ของศัตรูตก [%]
19 紫電改(三四三空) 戦闘301 106 10%
三式戦 飛燕(飛行第244戦隊) 7%
18 雷電 101 10%
一式戦 隼II型(64戦隊) 7%
Spitfire Mk.IX(熟練) 7%
17 Spitfire Mk.V 97 7%
16 三式戦 飛燕一型丁 93 7%
15 震電改 89 0%
14 紫電二一型 紫電改 84 10%
一式戦 隼III型甲★max 7%
零式艦戦53型(岩本隊)★max 0%
13 紫電一一型★max 80 10%
三式戦 飛燕 7%
一式戦 隼III型甲(54戦隊) 7%
四式戦 疾風 7%
12 一式戦 隼III型甲 76 7%
Spitfire Mk.I 7%
烈風 一一型 0%
11 紫電一一型 72 10%
烈風(六〇一空) 0%
零式艦戦52型(熟練)★max 0%
Re.2005 改 0%
10 一式戦 隼II型★max 67 7%
試製烈風 後期型 0%
零式艦戦21型(熟練)★max 0%
F6F-5 0%
9 紫電改二 63 0%
8 一式戦 隼II型 59 7%

ความเหนื่อยของระบบฐานทัพอากาศ

ค่ากำลังใจ การแสดงผล สถานะ
30~46 เครื่องบินเป็นปกติ ปกติ
20~29 เครื่องบินจะขึ้นไอคอนหน้าสีส้มในหน้าฐาน เหนื่อยล้าปานกลาง
0~19 เครื่องบินจะขึ้นไอคอนหน้าสีแดงในหน้าฐาน เหนื่อยล้ามาก
  • กรณีเอาเครื่องบินใส่ฐาน จะเริ่มที่ 40
  • ถ้าออกรบ 1 ครั้งจะหักไป = -6
    • หมายความว่าถ้าออกรบติดกันอย่างน้อย 2-3 ครั้ง จากอารมณ์ปกติจะกลายเป็นหน้าส้ม
    • แล้วถ้าหน้าส้มแล้วยังออกรบต่ออีก 2-3 ครั้งติด จากหน้าส้มก็จะกลายเป็นหน้าแดง
  • ผลแพ้ชนะของการรบไม่ส่งผลกับอารมณ์ของเครื่องบิน
  • ถ้าพักไว้ 3 นาที อารมณ์จะฟื้นขึ้นมาจำนวนนึง โดยจะขึ้นกับโหมดของฐานในขณะนั้น
    • โหมดออกรบ = +1
    • โหมดป้องกันน่านฟ้า = +2
    • โหมดลี้ภัย = +3
    • โหมดเตรียมพร้อม = +4
    • โหมดฟื้นฟู = +8
  • ส่วนเรื่องที่ว่าอารมณ์ส่งผลกับความแม่นยำหรือดาเมจหรือไม่นั้น ยังคงต้องรอข้อมูลกันต่อไป

ระบบการดูแลฐานทัพอากาศ

ในอัพเดตเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2021 ได้มีการเพิ่มระบบการดูแลฐานทัพอากาศ (หรือระบบเลเวลฐานทัพอากาศ) เข้ามาภายในเกม โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้

  • Lv.1 : เวลาพักผ่อนต่อรอบการออกปฏิบัติการที่จำเป็นลดลง & เมื่อปรับเป็นโหมดพัก (休息) เหล่านักบินจะพักฟื้นตัวได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
  • Lv.2 : เหมือน Lv.1 แค่ลดเวลาลงมาอีก & นักบินพักฟื้นตัวได้เร็วกว่าเดิม ตราบใดที่ไม่ตั้งเป็นโหมดโจมตี (出撃)
  • Lv.3 : เวลาพักผ่อนต่อรอบการออกปฏิบัติการที่จำเป็น ลดลงจากสถานการณ์ปกติครึ่งนึง & ไม่ว่าจะตั้งเป็นโหมดไหนก็ฟื้นตัวเร็วขึ้นกว่าเดิมทั้งหมด (แต่ถ้าตั้งเป็นโหมดพัก ก็จะเร็วขึ้นอีก 50%)

สามารถอัพเกรดได้ด้วยการใช้ไอเท็ม กองโยธาธิการ ต่อ 1 เลเวล อัพเกรดได้สูงสุด +3

วิธีเก็บยศเครื่องบินในด่านปกติ 6-4/6-5

  • 6-4 โหนด M (โหนดเรือดำน้ำ): ระยะการบินที่ไปยังโหนด M ตอนนี้คือ 8 หน่วย ดังนั้นโหนดนี้จะเก็บเวลได้แค่พวกเครื่องบินบกแบบโจมตีเท่านั้น ส่วนเรือที่ใช้สามารถใช้ SS ลำเดียวไปได้เลย (แต่สถิติแพ้จะพุ่งนะ)
  • 6-5 โหนด B (โหนดเรือดำน้ำ): เส้นล่างของ 6-5 จะบังคับ CL อย่างน้อย 1 ลำ (ใช้เรือเวล 1 ได้แต่ระวังสถิติแพ้)
  • 6-4 โหนด B: โหนดนี้ควรมี DD อย่างน้อย 2 ลำและกองเรือเร็วล้วนจึงจะไป โหนดนี้ไม่แนะนำสำหรับคนอยากประหยัดถังเขียว เพราะถ้าเครื่องบินเก็บศัตรูไม่หมด เราอาจจะเจ็บตัวซะเอง (ยกเว้นใช้เรือเวล 1 อันนี้ตามสะดวก)