การรบน่านฟ้า
หมายเหตุ: บทความในหน้านี้ ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ภาพรวม
- ◎>◯>△>-
ประเภท | ประสิทธิภาพ | เรือที่สามารถติดตั้งได้ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การรบตัดสินสถานะบนน่านฟ้า | เครื่องบินโจมตีเปิดฉาก | ยิงปืนใหญ่ | ASW | LoS | ระบบติดต่อ | ระบบชี้เป้าด้วยเครื่องบินทะเล | ||
เครื่องบินขับไล่ | ◎ | CV, CVL, LHA | ||||||
เครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด | -/△ | ◎ | ◯/◎ | △/◯ | △ | △/◎ | CV, CVL, ฮายาซุย ไค | |
เครื่องบินทิ้งระเบิด | -/△ | ◯ | ◎ | △ | △ | CV, CVL | ||
เครื่องบินสอดแนม | × | ◎ | ◎ | CV, CVL | ||||
เครื่องบินเจ็ทขับไล่-ทิ้งระเบิด | △/○ | ☆ | ○/◎ | โชคาคุคลาสร่างไคนิ โค | ||||
เครื่องบินต่อต้านเรือดำน้ำ | × | CVL, LHA | ||||||
ออโต้ไจโร | × | ◯ | CVL, BBV, CAV, LHA, AS, AR | |||||
เครื่องบินทะเลสอดแนม | ×[1] | ◯ | ◯ | ◯ | CL, CA, BB, BBV, AV, AS | |||
เครื่องบินทะเลทิ้งระเบิด | △/- | △ | △ | ◯ | △ | BBV, CAV, AV, AO, AS, เรือประเทศอิตาลีร่างไค | ||
เครื่องบินทะเลขับไล่ | △ | △ | CAV, BBV, SSV, AV, AO, เรือประเทศอิตาลีร่างไค, นางาโตะคลาสและยามาโตะคลาสร่างไค | |||||
เรือบิน | × | △ | ◎ | ☆ | อากิสึชิมะ |
ลำดับเฟสการรบน่านฟ้า
ลำดับเฟส | รายละเอียด | |
---|---|---|
Stage 1 | การรบตัดสินสถานะบนน่านฟ้า | การรบเพื่อยึดครองน่านฟ้าและเป็นตัวตัดสินว่ากองเรือจะสามารถใช้ระบบชี้เป้าด้วยเครื่องบินทะเลหรือระบบติดต่อหรือระบบการรวมตัวกันของเครื่องบินขับไล่&ทิ้งระเบิดได้หรือไม่ เครื่องบินขับไล่กับเครื่องบินประเภทโจมตีจะถูกยิงตกไปจำนวนหนึ่ง |
ระบบติดต่อ | จะทำงานหากชนะน่านฟ้าได้ เป็นระบบที่ช่วยเพิ่มพลังโจมตีให้กับเครื่องบินในเฟสเครื่องบินโจมตีเปิดฉาก | |
Stage 2 | การต่อต้านอากาศยานจากกองเรือ | กองเรือทำการต่อต้านเครื่องบินประเภทโจมตีของศัตรู โดยจะทำให้เครื่องบินประเภทโจมตีของศัตรูตกจำนวนหนึ่ง |
คัทอินต่อต้านอากาศยาน (คัทอิน AA) | ระบบควบคุมการต่อต้านอากาศยานอาจจะทำงานและส่งผลทำให้เครื่องบินประเภทโจมตีของศัตรูตกจำนวนมากได้ | |
Stage 3 | เครื่องบินโจมตีเปิดฉาก | เครื่องบินประเภทโจมตีทำการโจมตีเป้าหมายแบบสุ่ม อ่านเพิ่มเติมที่การคำนวณดาเมจ |
การรบตัดสินสถานะบนน่านฟ้า
เครื่องบินที่ทำการรบในเฟสนี้: เครื่องบินขับไล่, เครื่องบินทะเลขับไล่, เครื่องบินทิ้งระเบิด, เครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด, เครื่องบินทะเลทิ้งระเบิด, เครื่องบินเจ็ท ที่มีค่า AA
- เครื่องบินสอดแนมและ เครื่องบินทะเลสอดแนมจะไม่มีส่วนร่วมในการรบนี้
สูตรค่าต่อสู้น่านฟ้า = ผลรวมของ [(ค่า AA ของเครื่องบิน + (★ระดับการพัฒนาอาวุธ × ตัวแก้ไขโบนัสค่า AA จากการพัฒนาอาวุธ)) × √(จำนวนเครื่องบินในช่อง) + โบนัสจากยศเครื่องบิน]
- ตัวแก้ไขโบนัสค่า AA จากการพัฒนาอาวุธสำหรับเครื่องบินขับไล่, เครื่องบินทะเลขับไล่ = 0.2, เครื่องบินทิ้งระเบิดผสมขับไล่ = 0.25
- โบนัสจากยศเครื่องบินในกรณีที่เลเวลเป็น >> เครื่องบินขับไล่/เครื่องบินทะเลขับไล่ = +25, เครื่องบินทะเลทิ้งระเบิด = +9, เครื่องบินทิ้งระเบิด, เครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด = +3
หมายเหตุ: ค่าต่อสู้น่านฟ้าสามารถเรียกได้อีกแบบว่า "ค่าไฟเตอร์ (Fighter Power)"
รูปแบบสถานะการแพ้ชนะ
ค่าต่อสู้น่านฟ้า | ผลลัพธ์สถานะ | ตัวอักษรที่ปรากฏ | อัตราการร่วงของเครื่องบินฝั่งเรา | อัตราการร่วงของเครื่องบินฝั่งศัตรู | ระบบติดต่อ | ระบบชี้เป้าด้วยเครื่องบินทะเล | ระบบติดต่อตอนกลางคืน [2] | รูปตัวอย่าง | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฝั่งเรา | ฝั่งศัตรู | ฝั่งเรา | ฝั่งศัตรู | ฝั่งเรา | ฝั่งศัตรู | ||||||
FP > 3*EFP | รับประกันอำนาจบนน่านฟ้า (AS+) | 制空権確保! Seikuuken Kakuho! |
7/256~15/256 | 0~100% | ใช้ได้ | ใช้ไม่ได้ | ใช้ได้ | ใช้ไม่ได้ | ใช้ได้ | ใช้ไม่ได้ | |
3*EFP > FP > 1.5*EFP | เหนือกว่าทางอากาศ (AS) | 航空優勢! Koukuu Yuusei! |
20/256~45/256 | 0~80% | ใช้ได้ | ใช้ได้ | |||||
1.5*EFP > FP > 2/3*EFP | เสมอทางอากาศ (AP) | ไม่มีตัวอักษรปรากฏ | 30/256~75/256 | 0~60% | ใช้ไม่ได้ | ใช้ไม่ได้ [3] ใช้ได้ [4] |
|||||
2/3*EFP > FP > 1/3*EFP | เสียเปรียบทางอากาศ (AD) | ไม่มีตัวอักษรปรากฏ | 45/256~105/256 | 0~40% | ใช้ได้ | ใช้ได้ | ใช้ไม่ได้ | ใช้ได้ | ใช้ได้ | ใช้ได้ | |
FP < 1/3*EFP | สูญเสียอำนาจบนน่านฟ้า (AI) | 制空権喪失! Seikuuken Soushitsu! |
65/256~150/256 | 0~10% | ใช้ไม่ได้ | ใช้ไม่ได้ |
- EFP: ค่าต่อสู้น่านฟ้าฝั่งศัตรู, FP: ค่าต่อสู้น่านฟ้าฝั่งเรา
- เครื่องบินที่ทำการรบในเฟสนี้ของฝั่งเราจะตกเป็นเป้าหมายของการคำนวณอัตราการร่วง (เครื่องบินขับไล่, เครื่องบินทะเลขับไล่ เครื่องบินทะเลขับไล่, เครื่องบินทิ้งระเบิด, เครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด, เครื่องบินทะเลทิ้งระเบิด, เครื่องบินเจ็ท)
- เครื่องบินสอดแนม, เครื่องบินทะเลสอดแนมและเรือบินเป็นข้อยกเว้น
- โดยอัตราการร่วงนั้นจะคิดเป็นต่อช่อง และเศษปัดลง
- ตัวอย่าง: มีเครื่องบิน 20 ลำใน 1 ช่อง ในกรณีที่ได้สถานะสูญเสียอำนาจบนน่านฟ้าจะสูญเสียเครื่องบิน = 20×65/256=5.07 ~ 20×150/256=11.72 หรือประมาณ 5~11 ลำ ในทางกลับกัน ในกรณีที่ได้สถานะรับประกันอำนาจบนน่านฟ้าจะสูญเสียเครื่องบิน = 20×7/256=0.54 ~ 20×15/256=1.17 หรือประมาณ 0~1 ลำ
- ด้วยอัตราการร่วงของเครื่องบินฝั่งเรา ทำให้ถ้าได้สถานะรับประกันอำนาจบนน่านฟ้า เครื่องบินที่อยู่ในช่องที่มีจำนวนเครื่องบินไม่เกิน 17 ลำนั้นจะไม่มีการสูญเสียเครื่องบินจากอัตราการร่วง (แต่เครื่องบินที่อยู่ในช่องที่มีจำนวนเครื่องบิน 18 ลำขึ้นไปยังคงมีโอกาสสูญเสียเครื่องบินอยู่)
- ในกรณีที่การค้นหาศัตรูล้มเหลวนั้น จะไม่มีการส่งเครื่องบินออกมาในเฟสการรบน่านฟ้า
- เครื่องบินที่ติดอยู่กับเรือที่เสียหายปานกลางลงไปนั้นยังคงสามารถออกมาต่อสู้ในเฟสการรบน่านฟ้าได้
- ในกรณีที่มีเฟสการรบน่านฟ้าแล้วศัตรูมีค่าต่อสู้น่านฟ้าเท่ากับ 0 นั้นจะถือว่าฝั่งเราได้สถานะรับประกันอำนาจบนน่านฟ้าในทันที แม้ว่าฝั่งเราจะไม่มีเครื่องบินขับไล่อยู่เลยก็ตาม
- ถ้าทั้งสองฝั่งไม่มีการปล่อยเครื่องบินจากกองเรือเลย การรบครั้งนั้นจะไม่มีเฟสการรบน่านฟ้าและการรบตัดสินสถานะบนน่านฟ้าจะถือว่าเป็นเสมอทางอากาศ
- สำหรับระบบติดต่อตอนกลางคืนนั้น ในกรณีที่เริ่มการรบในโหนดนั้นๆ ด้วยศึกกลางวัน ในกรณีที่ได้สถานะเสมอทางอากาศกันนั้นจะไม่มีการทำงานของเครื่องบินสอดแนมในตอนกลางคืน แต่ถ้าเป็นสถานะเสียเปรียบทางอากาศจะมีโอกาสทำงาน (แต่ใน PVP นั้นถึงแม้จะเสมอทางอากาศก็ยังมีโอกาสทำงาน)
- แต่ในกรณีที่เริ่มการรบในโหนดนั้นๆ ด้วยเฟสศึกกลางคืน เครื่องบินก็มีโอกาสทำงานถึงแม้ว่าจะไม่มีเฟสการรบน่านฟ้าก็ตาม
ระบบติดต่อ
ระบบติดต่อนี้จะทำงานในช่วงเฟสการรบน่านฟ้า เป็นระบบที่ช่วยเพิ่มดาเมจให้กับเครื่องบินในเฟสเครื่องบินโจมตีเปิดฉาก ถ้าทำงานสำเร็จ จะมีรูปเครื่องบินปรากฏอยู่บนฟอร์เมชั่นกองเรือฝั่งศัตรูพร้อมกับข้อความ "触接中"
โอกาสที่จะออก:
- เฟสการรบตัดสินสถานะบนน่านฟ้าต้องได้สถานะเสมอทางอากาศขึ้นไป
- ในกองเรือต้องมีเรือที่ติดตั้ง เครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด, เครื่องบินทะเลสอดแนม, เครื่องบินสอดแนม, เรือบิน อย่างน้อย 1 ช่อง
- เครื่องบินทะเลทิ้งระเบิด, 三式指揮連絡機(対潜), カ号観測機 ไม่สามารถใช้ระบบนี้ได้
- ถ้าหากติดตั้งมากกว่า 1 ประเภท ระบบจะสุ่มออก ไม่สามารถเลือกได้ว่าลำไหนจะออกไป และจะเพิ่มโบนัสพลังโจมตีโดยคิดจากค่าความแม่นของเครื่องบินที่สุ่มได้
- ศัตรูก็สามารถใช้ระบบนี้ได้เช่นกัน
- เครื่องบินแต่ละประเภทจะมีโอกาสออกมาทำงานไม่เท่ากัน โดยจะคิดจากสูตรดังต่อไปนี้
โอกาสทำงานของระบบติดต่อ
เฟส 1: โอกาสเริ่มต้น
- โอกาสเริ่มต้น = ตัวแก้ไขสถานะน่านฟ้า x {ผลรวมของทุกช่อง [0.04 x ค่า LoS ของเครื่องบินนั้นๆ x √(จำนวนเครื่องบิน)]}
- ตัวแก้ไขสถานะน่านฟ้านั้น ในกรณีที่ได้สถานะรับประกันอำนาจบนน่านฟ้าจะเท่ากับ 1 แต่ถ้าได้สถานะเหนือกว่าทางอากาศจะเท่ากับ 0.6 ส่วนนอกเหนือจากนี้ไม่ทราบ
- เครื่องบินแต่ละประเภทจะมีโอกาสเริ่มต้นไม่เท่ากัน
- ในกรณีที่เฟส 1 ทำงานสำเร็จ ระบบก็จะเข้าสู่เฟส 2 ให้ แต่ถ้าหากเฟส 1 ทำงานไม่สำเร็จก็จะไม่มีการทำงานของระบบติดต่อในการรบนั้นๆ
เฟส 2: โอกาสที่จะถูกเลือก
- โอกาสที่จะถูกเลือก = ตัวแก้ไขสถานะน่านฟ้า x ค่า LoS ของเครื่องบินนั้นๆ
- ตัวแก้ไขสถานะน่านฟ้า ในกรณีที่สถานะรับประกันอำนาจบนน่านฟ้าจะเท่ากับ 0.07, สถานะเหนือกว่าทางอากาศจะเท่ากับ 0.06, สถานะเสมอทางอากาศจะเท่ากับ 0.055
- ในเฟส 2 นี้จะขึ้นอยู่กับค่า LoS เป็นหลัก
- การจัดลำดับความสำคัญของเฟส 2 นี้จะเริ่มจากเครื่องบินที่มีค่าความแม่นยำสูงสุด (สำคัญ)และเครื่องบินที่ติดอยู่ของเรือแต่ละลำในกองเรือ (ไม่ค่อยสำคัญ) โดยจะไล่ไปตามลำดับของเครื่องบินทุกช่อง กล่าวคือจะไล่จากค่าความแม่นยำสูงสุดไปต่ำสุดและไล่จากเรือธงไปยังเรือลำที่หก
- ในกรณีที่เฟส 2 ทำงานไม่สำเร็จก็จะไม่มีการทำงานของระบบติดต่อในการรบนั้นๆ
ตัวแก้ไขพลังโจมตีจากระบบติดต่อ
- ตัวแก้ไขพลังโจมตีนั้นจะคำนวณจากค่าความแม่นยำ ของเครื่องบินที่ทำงาน โดยสูงสุดจะอยู่ที่ 1.2 เท่าหรือ 120%
- ตัวแก้ไขพลังโจมตีนี้จะอยู่ในส่วนของตัวแก้ไขหลัง Cap พลังโจมตี
ความแม่นยำ | โบนัสพลังโจมตี |
---|---|
+0 | 112% |
+1 | 112% |
+2 | 117% |
+3 ขึ้นไป | 120% |
การต่อต้านอากาศยานจากกองเรือ
ระบบการต่อต้านอากาศยานจากกองเรือนั้นได้รับการอัพเดตในอัพเดตวันที่ 14 พฤศจิกายน 2014 (อัพเดตเดียวกับการเพิ่มระบบคัทอินต่อต้านอากาศยาน (คัทอิน AA)) และได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมในอัพเดตวันที่ 26 มิถุนายน 2015
การต่อต้านอากาศยานจากกองเรือนั้นจะทำการยิงเครื่องบินประเภทโจมตีทุกช่องของศัตรูด้วยการสุ่มเลือกเรือที่จะยิง โดยการต่อต้านอากาศยานจากกองเรือจะมีรูปแบบการต่อต้านด้วยกัน 2 ประเภทคือการยิงเครื่องบินตกแบบสัดส่วนกับการยิงเครื่องบินตกแบบคงที่ ซึ่งแต่ละรูปแบบนั้นจะมีโอกาสติดอย่างละ 50% โดยแบ่งเป็น 25% ถ้าติดทั้ง 2 รูปแบบ, 25% ถ้าติดเฉพาะรูปแบบสัดส่วน, 25% ถ้าติดเฉพาะรูปแบบคงที่, 25% ถ้าไม่ติดรูปแบบใดๆ เลย
- ไม่ว่ารูปแบบการยิงเครื่องบินตกแบบสัดส่วนกับแบบคงที่จะทำงานหรือไม่ก็ตาม จะมีจำนวนเครื่องบินตกอย่างน้อยที่สุด +1 ลำเสมอ
- การคำนวณเหล่านี้ใช้ได้เฉพาะกับฝั่งเราเท่านั้น เพราะศัตรูจะใช้การคำนวณอีกรูปแบบนึงแทน
- เกี่ยวกับการต่อต้านอากาศยานจากกองเรือของระบบกองเรือผสมนั้นสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ใน การต่อต้านอากาศยานจากกองเรือของกองเรือผสม
การยิงเครื่องบินตกแบบสัดส่วนนั้นจะเป็นการยิงเครื่องบินของศัตรูที่เหลือรอดมาจากการรบตัดสินสถานะบนน่านฟ้า
สูตรการยิงเครื่องบินตกแบบสัดส่วน [ลำ] = (ค่าปรับเปลี่ยน AA / 400) x จำนวนเครื่องบินที่เหลืออยู่ของเป้าหมาย (เศษปัดลง)
การยิงเครื่องบินตกแบบคงที่นั้นจะเป็นการยิงเครื่องบินของศัตรูที่เหลือรอดมาจากการยิงเครื่องบินตกแบบสัดส่วน
สูตรการยิงเครื่องบินตกแบบคงที่ [ลำ] = [(ค่าปรับเปลี่ยน AA + ค่า AA กองเรือ) x โบนัสคัทอิน AA แบบแปรปรวน] / 10 (เศษปัดลง)
สูตรค่าปรับเปลี่ยน AA = A x [X / A] (ในวงเล็บ [ ] เศษปัดลง)
- X = ค่า AA ดั้งเดิมของเรือ + ผลรวมของอาวุธทุกช่อง{ตัวแก้ไขจากอาวุธกรณีค่าปรับเปลี่ยน AA x (ค่า AA ของอาวุธ) + ตัวแก้ไขการพัฒนาอาวุธกรณีค่าปรับเปลี่ยน AA x √(★ระดับที่พัฒนา)}
- A = จำนวนอาวุธของเรือ กรณีที่ไม่มีเลยจะคิดเป็น 1, กรณีที่มีอาวุธ 1 อันขึ้นไปจะคิดเป็น 2
ตัวแก้ไขจากอาวุธกรณีค่าปรับเปลี่ยน AA
ประเภทอาวุธ | ตัวแก้ไข |
---|---|
ปืนต่อสู้อากาศยาน | 6 |
ปืนลำกล้องมุมสูง, เครื่องควบคุมระบบต่อสู้อากาศยาน |
4 |
เรดาร์อากาศ (ขนาดเล็ก, ใหญ่) | 3 |
ปืนหลัก(แดง), 三式弾, เครื่องบินขับไล่, เครื่องบินทะเลสอดแนม |
0 |
ตัวแก้ไขการพัฒนาอาวุธกรณีค่าปรับเปลี่ยน AA
ประเภทอาวุธ | ตัวแก้ไข |
---|---|
ปืนต่อสู้อากาศยาน | 4 |
ปืนลำกล้องมุมสูง (อันที่มีค่า AA ตั้งแต่ +8 ขึ้นไป) | 3 |
ปืนลำกล้องมุมสูง (อันที่มีค่า AA ไม่เกิน +7), เครื่องควบคุมระบบต่อสู้อากาศยาน |
2 |
เรดาร์อากาศ (ขนาดเล็ก, ใหญ่) | 0 |
สูตรค่า AA กองเรือ = [ตัวแก้ไขจากฟอร์เมชั่น x (ผลรวมของโบนัสค่า AA ของเรือทุกลำในกองเรือ)] x (2 / 1.3) (ในวงเล็บ [ ] เศษปัดลง)
- โบนัสค่า AA ของเรือทุกลำในกองเรือ = [ผลรวมของอาวุธทุกช่อง{ตัวแก้ไขจากอาวุธกรณีค่า AA กองเรือ x ค่า AA ของอาวุธ + ตัวแก้ไขการพัฒนาอาวุธกรณีค่ากองเรือ x √(★ระดับที่พัฒนา)}] (หลังคำนวณรวมทุกอันแล้วเศษให้ปัดลง)
ตัวแก้ไขจากอาวุธกรณีค่า AA กองเรือ
ประเภทอาวุธ | ตัวแก้ไข |
---|---|
三式弾 | 0.6 |
เรดาร์อากาศ (ขนาดเล็ก, ใหญ่) | 0.4 |
ปืนลำกล้องมุมสูง เครื่องควบคุมระบบต่อสู้อากาศยาน |
0.35 |
46cm三連装砲 | 0.25 |
ปืนหลัก (แดง), ปืนรอง (เหลือง), ปืนต่อสู้อากาศยาน, เครื่องบินขับไล่, เครื่องบินทิ้งระเบิด, เครื่องบินทะเลสอดแนม |
0.2 |
ตัวแก้ไขการพัฒนาอาวุธกรณีค่า AA กองเรือ
ประเภทอาวุธ | ตัวแก้ไข |
---|---|
ปืนลำกล้องมุมสูง (อันที่มีค่า AA ตั้งแต่ +8 ขึ้นไป) | 3 |
ปืนลำกล้องมุมสูง (อันที่มีค่า AA ไม่เกิน +7), เครื่องควบคุมระบบต่อสู้อากาศยาน |
2 |
เรดาร์อากาศ (ขนาดเล็ก, ใหญ่) | 1.5 |
ปืนต่อสู้อากาศยาน | 0 |
ตัวแก้ไขจากฟอร์เมชั่น
ฟอร์เมชั่น | ตัวแก้ไข |
---|---|
เรียงตัวเป็นเส้นตรง, เรียงขั้นบันได, แถวหน้ากระดาน | 1.0 |
เฝ้าระวัง | 1.1 |
ขบวนสองแถว | 1.2 |
ล้อมวงเรือธง | 1.6 |
การต่อต้านอากาศยานจากกองเรือของศัตรู
เครื่องบินประเภทโจมตีของฝั่งเรา (เครื่องบินทิ้งระเบิด, เครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด, เครื่องบินทะเลทิ้งระเบิด, เครื่องบินเจ็ทขับไล่-ทิ้งระเบิด, เครื่องบินฐานทัพจู่โจม) จะตกเป็นเป้าหมายของการต่อต้านอากาศยานจากกองเรือของศัตรู โดยกองเรือปกติศัตรูจะคิดจากสูตรดังต่อไปนี้
สูตรค่าปรับเปลี่ยน AA = [ 2 × √(ค่า AA ดั้งเดิมของเรือ) (เศษปัดลง) ] + ผลรวมของอาวุธทุกช่อง(ตัวแก้ไขจากอาวุธ × ค่า AA ของอาวุธ)
สูตรค่า AA กองเรือ = [ตัวแก้ไขจากฟอร์เมชั่น × (ผลรวมของโบนัสค่า AA ของเรือทุกลำในกองเรือ)] × 2 (เศษปัดลง)
สูตรการยิงเครื่องบินตกแบบสัดส่วน [ลำ] = (ค่าปรับเปลี่ยน AA / 400) × จำนวนเครื่องบินที่เหลืออยู่ของเป้าหมาย (เศษปัดลง)
สูตรการยิงเครื่องบินตกแบบคงที่ [ลำ] = (ค่าปรับเปลี่ยน AA+ ค่า AA กองเรือ) / 10.6 (เศษปัดลง)
- ตัวแก้ไขจากฟอร์เมชั่น: เรียงตัวเป็นเส้นตรง = 1.0, ขบวนสองแถว = 1.2, ล้อมวงเรือธง = 1.6
- ตัวแก้ไขจากอาวุธและโบนัสค่า AA ของเรือทุกลำในกองเรือนั้นจะคิดด้วยสูตรเดียวกันกับการต่อต้านอากาศยานจากกองเรือฝั่งเรา
- ศัตรูไม่มีจำนวนเครื่องบินตกอย่างน้อยที่สุด +1 เหมือนฝั่งเรา
ในส่วนของกองเรือผสมศัตรูนั้นจะมีการคิดบางสูตรแตกต่างจากกองเรือปกติดังนี้
สูตรการยิงเครื่องบินตกแบบสัดส่วน [ลำ] = (ค่าปรับเปลี่ยน AA x ตัวแก้ไขกองเรือผสม / 400) × จำนวนเครื่องบินที่เหลืออยู่ของเป้าหมาย (เศษปัดลง)
สูตรการยิงเครื่องบินตกแบบคงที่ [ลำ] = (ค่าปรับเปลี่ยน AA+ ค่า AA กองเรือ) × ตัวแก้ไขกองเรือผสม / 10.6 (เศษปัดลง)
- ค่าปรับเปลี่ยน AA และค่า AA กองเรือจะคิดเหมือนกับกองเรือปกติ (แต่โบนัสค่า AA ของเรือทุกลำในกองเรือจะคิดรวม 12 ลำแทน)
- ตัวแก้ไขจากฟอร์เมชั่น: ฟอร์เมชั่นที่ 3 = 1.5, ฟอร์เมชั่นที่ 2 = 1.1
- ตัวแก้ไขกองเรือผสม: กองเรือหลัก = 0.8, กองเรือคุ้มกัน = 0.48
คัทอินต่อต้านอากาศยาน (คัทอิน AA)
เป็นระบบสำหรับต่อต้านเครื่องบินโดยจะต้องติดอาวุธยุทโธปกรณ์บางอย่างให้ตรงตามเงื่อนไขที่ระบบกำหนด ซึ่งในกรณีที่เรือติดอาวุธถูกต้องตามเงื่อนไขและเกิดการทำงานของคัทอินนั้นจะส่งผลทำให้เครื่องบินโจมตีของฝั่งศัตรูตกเป็นจำนวนมากกว่าปกติได้
- ในการรบ 1 ครั้ง เรือที่ติดคัทอินจะมีเพียง 1 ลำเท่านั้น และผลของโบนัสทุกแบบจะขึ้นกับชนิดคัทอิน AA ของเรือที่ติดคัทอินเท่านั้น
- ถ้ามีเรือที่เข้าเงื่อนไขนี้หลายลำในกองเรือ โอกาสออกคัทอินจะมีมากขึ้น
- กองเรือผสมสามารถใช้คัทอินได้ โดยจะอยู่กองเรือหลักหรือกองเรือคุ้มกันก็สามารถใช้ได้หมด
- ในการซ้อมรบหรือ PVP นั้นฝั่งตรงข้ามจะไม่มีการแสดงภาพคัทอินขึ้น แต่ถ้าฝั่งตรงข้ามใส่อาวุธเข้าเงื่อนไขจะทำให้มีโอกาสติดคัทอินได้ซึ่งจะทำให้เครื่องบินฝ่ายเราโดนยิงตกเป็นจำนวนมากได้
- ผลของคัทอิน AA ไม่มีผลต่อรูปแบบสถานะบนน่านฟ้า
- ค่า AA ของกองเรือกับโชคของเรือไม่ช่วยเพิ่มโอกาสออกของคัทอิน
- โบนัสของคัทอิน AA ในการยิงเครื่องบินร่วงตกนั้นจะมีด้วยกัน 2 รูปแบบได้แก่
- โบนัสแบบคงที่: เป็นโบนัสตายตัวของคัทอินนั้นๆ โดยจะไปเพิ่มในส่วนของจำนวนเครื่องบินตกอย่างน้อยที่สุด (สมมติว่าโบนัสแบบคงที่ = 2 ลำ จะทำให้จำนวนเครื่องบินตกอย่างน้อยที่สุด = 1+2 = 3 ลำนั่นเอง)
- โบนัสแบบแปรปรวน (หรือ K-value): เป็นโบนัสที่จะคำนวณเข้าไปในสูตรการยิงเครื่องบินตกแบบคงที่ แต่ในกรณีที่การรบนั้นไม่มีการทำงานของคัทอิน AA จะทำให้โบนัสแบบแปรปรวนเท่ากับ 1.0
- เรือทุกลำในกองเรือจะได้รับผลของโบนัสของคัทอิน AA ทุกแบบ
- เงื่อนไขการจัดอาวุธเพื่อให้ได้คัทอิน อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขการจัดอาวุธสำหรับคัทอิน AA
ชนิด | เรือที่ใช้ได้ | เงื่อนไข 1 | เงื่อนไข 2 | เงื่อนไข 3 | เงื่อนไข 4 | โบนัสแบบคงที่ | โบนัสแบบแปรปรวน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ชั้นอากิซึกิ | ปืนลำกล้องมุมสูง | ปืนลำกล้องมุมสูง | เรดาร์ | - | 7 | 1.7 | เรดาร์นั้นจะใช้แบบเรดาร์อากาศหรือเรดาร์ผิวน้ำก็ได้ |
2 | ปืนลำกล้องมุมสูง | เรดาร์ | - | - | 6 | 1.7 | ||
3 | ปืนลำกล้องมุมสูง | ปืนลำกล้องมุมสูง | - | - | 4 | 1.6 | ||
4 | BB(V) | ปืนขนาดใหญ่ | เครื่องควบคุมระบบ ต่อสู้อากาศยาน |
三式弾 | เรดาร์อากาศ | 6 | 1.5 | จะไม่สามารถใช้ระบบชี้เป้าด้วยเครื่องบินทะเลได้ |
5 | เรือผิวน้ำทุกประเภท | ปืนลำกล้องมุมสูงแบบพิเศษ | ปืนลำกล้องมุมสูงแบบพิเศษ | เรดาร์อากาศ | - | 4 | 1.5 | |
6 | BB(V) | ปืนขนาดใหญ่ | 三式弾 | เครื่องควบคุมระบบ ต่อสู้อากาศยาน |
- | 4 | 1.45 | จะไม่สามารถใช้ระบบชี้เป้าด้วยเครื่องบินทะเลได้ |
7 | เรือผิวน้ำทุกประเภท | ปืนลำกล้องมุมสูง | เครื่องควบคุมระบบ ต่อสู้อากาศยาน |
เรดาร์อากาศ | - | 3 | 1.35 | |
8 | ปืนลำกล้องมุมสูงแบบพิเศษ | เรดาร์อากาศ | - | - | 4 | 1.4 | ||
9 | ปืนลำกล้องมุมสูง | เครื่องควบคุมระบบ ต่อสู้อากาศยาน |
- | - | 2 | 1.3 | ||
10 | มายะ ไคนิ | ปืนลำกล้องมุมสูง | ปืนต่อสู้อากาศยานแบบพิเศษ | เรดาร์อากาศ | - | 8 | 1.65 | ติดปืนเพิ่มจะสามารถยิงสองครั้งในศึกกลางคืนได้ |
11 | ปืนลำกล้องมุมสูง | ปืนต่อสู้อากาศยานแบบพิเศษ | - | - | 6 | 1.5 | ติดปืนหลัก+เครื่องบินทะเลจะสามารถใช้ระบบชี้เป้าด้วยเครื่องบินทะเล, ยิงสองครั้งในศึกกลางคืนได้ | |
12 | เรือผิวน้ำทุกประเภท | ปืนต่อสู้อากาศยานแบบพิเศษ | ปืนต่อสู้อากาศยาน | เรดาร์อากาศ | - | 3 | 1.25 | ปืนต่อสู้อากาศยานต้องเป็นอันที่มีค่า AA ตั้งแต่ +3 ขึ้นไป |
13 | ยังไม่มีคัทอินชนิดนี้ | |||||||
14 | อิสุซุ ไคนิ | ปืนลำกล้องมุมสูง | ปืนต่อสู้อากาศยาน | เรดาร์อากาศ | - | 4 | 1.45 | |
15 | ปืนลำกล้องมุมสูง | ปืนต่อสู้อากาศยาน | - | - | 3 | 1.3 | ||
16 | คาสุมิ ไคนิ โอทสึ | ปืนลำกล้องมุมสูง | ปืนต่อสู้อากาศยาน | เรดาร์อากาศ | - | 4 | 1.4 | |
17 | ปืนลำกล้องมุมสูง | ปืนต่อสู้อากาศยาน | - | - | 2 | 1.25 | ||
18 | ซัทสึกิ ไคนิ | ปืนต่อสู้อากาศยานแบบพิเศษ | - | - | - | 2 | 1.2 | |
19 | คินุ ไคนิ | ปืนลำกล้องมุมสูง | ปืนต่อสู้อากาศยานแบบพิเศษ | - | - | 5 | 1.45 | ปืนลำกล้องมุมสูงไม่สามารถใช้อันที่เป็นปืนลำกล้องมุมสูงแบบพิเศษได้ |
20 | ปืนต่อสู้อากาศยานแบบพิเศษ | - | - | - | 3 | 1.25 | ||
21 | ยูระ ไคนิ | ปืนลำกล้องมุมสูง | เรดาร์อากาศ | - | - | 5 | 1.45 | |
22 | ฟุมิสึกิ ไคนิ | ปืนต่อสู้อากาศยานแบบพิเศษ | - | - | - | 2 | 1.2 | |
23 | ยูไอที-25/อิ-504 | ปืนต่อสู้อากาศยาน | - | - | - | 1 | 1.05 | ปืนต่อสู้อากาศยานต้องเป็นอันที่มีค่า AA ตั้งแต่ +3~+8 |
24 | ทัตสึตะ ไคนิ | ปืนลำกล้องมุมสูง | ปืนต่อสู้อากาศยาน | - | - | 3 | 1.25 | ปืนต่อสู้อากาศยานต้องเป็นอันที่มีค่า AA ตั้งแต่ +3~+8 |
25 | อิเสะ ไค, ฮิวงะ ไค | 12cm30連装噴進砲改二 | เรดาร์อากาศ | 三式弾 | - | 7 | 1.55 | |
26 | มุซาชิ ไคนิ | 10cm連装高角砲改+増設機銃 | เรดาร์อากาศ | - | - | 6 | 1.4 | |
27 | ??? | |||||||
28 | อิเสะ ไค, ฮิวงะ ไค, มุซาชิ ไค/ไคนิ | 12cm30連装噴進砲改二 | เรดาร์อากาศ | - | - | 4 | 1.4 | |
29 | อิโซคาเซะ โอทสึไค, ฮามะคาเซะ โอทสึไค | ปืนลำกล้องมุมสูง | เรดาร์อากาศ | - | - | 5 | 1.55 | ปืนลำกล้องมุมสูงต้องเป็นอันที่มีค่า AA ไม่เกิน +7 |
- ปืนลำกล้องมุมสูงสามารถตรวจสอบได้ในหน้ารายการปืนหลักและรายการปืนรอง
- เครื่องควบคุมระบบต่อสู้อากาศยานสามารถตรวจสอบได้ในหน้ารายการเครื่องควบคุมระบบต่อสู้อากาศยาน
- ปืนต่อสู้อากาศยานสามารถตรวจสอบได้ในหน้ารายการปืนต่อสู้อากาศยาน
- ปืนลำกล้องมุมสูงดังต่อไปนี้ถือเป็นปืนลำกล้องมุมสูงแบบพิเศษ ได้แก่
- 10cm高角砲+高射装置 (ปืนหลัก)
- 12.7cm高角砲+高射装置 (ปืนรอง)
- 90mm単装高角砲 (ปืนรอง)
- 5inch連装砲 Mk.28 mod.2 (ปืนรอง)
- 10cm連装高角砲改+増設機銃 (ปืนรอง)
- สำหรับการจัดประเภทปืนลำกล้องมุมสูงแบบพิเศษนั้น จะนับเฉพาะปืนลำกล้องมุมสูงที่มีค่า AA ตั้งแต่ +8 หน่วยขึ้นไปเท่านั้น
- ปืนต่อสู้อากาศยานดังต่อไปนี้ถือเป็นปืนต่อสู้อากาศยานแบบพิเศษ ได้แก่
- 25mm三連装機銃 集中配備
- Bofors 40mm四連装機関砲
- QF 2ポンド8連装ポンポン砲
- สำหรับการจัดประเภทปืนต่อสู้อากาศยานแบบพิเศษนั้น จะนับเฉพาะปืนต่อสู้อากาศยานที่มีค่า AA ตั้งแต่ +9 หน่วยขึ้นไปเท่านั้น
- ถ้าอาวุธครบตามเงื่อนไขแล้ว ที่เหลือจะใส่อะไรก็ได้ และจะสลับช่องยังไงก็ได้แล้วแต่ความชอบ
- อัพเดตวันที่ 22 ธันวาคม 2016 นั้น ทำให้สามารถติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานลงในช่องอุปกรณ์เสริมได้ (ช่องที่ต้องใช้อุปกรณ์ขยายช่องเสริมเจาะ) โดยถ้าใส่อุปกรณ์ลงช่องเสริมควบคู่กับช่องอุปกรณ์ปกติตามเงื่อนไขที่กำหนด คัทอิน AA ก็จะมีโอกาสทำงานเช่นเดียวกับเซ็ตคัทอินที่จัดลงช่องอุปกรณ์ปกติ
- สำหรับเรือที่ใช้แค่ปืนต่อสู้อากาศยานแบบพิเศษช่องเดียวนั้น สามารถใส่ในช่องอุปกรณ์เสริมแทนช่องอุปกรณ์ปกติได้
- สำหรับยูระ ไคนิที่สามารถติดปืนลำกล้องมุมสูง 8cm高角砲, 8cm高角砲改+増設機銃 ในช่องเสริมได้นั้น ถ้าใส่อุปกรณ์อื่นในช่องหลักครบตามเงื่อนไข คัทอิน AA ก็จะมีโอกาสทำงานเช่นเดียวกัน
- ขณะนี้ เรือฝั่งศัตรู (เรือทะเลลึก) บางส่วนก็สามารถใช้คัทอิน AA ได้แล้วเช่นกัน โดยศัตรูที่มีการยืนยันแล้วว่าสามารถใช้ได้ก็คืออสูรจิ๋วป้อมปืนบางรูปแบบกับองค์หญิงป้องกันอากาศยาน
- เกี่ยวกับโบนัสของคัทอิน AA นั้นจะอ้างอิงจากเว็บ wikiwiki กับ 検証wiki
ระบบยิงจรวดต่อต้านอากาศยาน
- เรือที่เข้าเงื่อนไขใช้ระบบนี้ได้คือประเภท BBV, CAV, AV และ CV(B)/CVL เท่านั้น
- เรือที่จะใช้ระบบนี้ได้จะต้องติด 12cm30連装噴進砲改二 ด้วย
- อุปกรณ์นี้ติดในช่องเสริมได้
- ปัจจุบันหาได้จากการพัฒนาอาวุธและมีแจกในเควสท์ B114
- ระบบนี้จะทำงานในช่วงเครื่องบินโจมตีเปิดฉากของเฟสการรบน่านฟ้าเท่านั้น (เฟสอื่นไม่เกี่ยว)
- ในกรณีที่เรือลำไหนใช้ระบบนี้ได้สำเร็จ เฉพาะเรือที่ทำได้จะยกเลิกการโจมตีของศัตรูและไม่โดนดาเมจจากเครื่องบินของศัตรูในเฟสการรบน่านฟ้า (จะไม่มีตัวเลขดาเมจหรือ miss แสดงให้เห็น)
- ส่วนเรือลำอื่นที่ไม่ได้ติด 12cm30連装噴進砲改二 หรือเรือลำอื่นที่ติดแต่ระบบนี้ไม่ทำงาน จะมีโอกาสถูกโจมตีและได้รับดาเมจ
- แต่ต่อให้เรือใช้ระบบนี้สำเร็จ ถ้าโดนโจมตีในเฟสยิงปืนใหญ่ ก็ยังมีโอกาสได้รับดาเมจอยู่ดี
- เรือที่ใช้ระบบนี้สำเร็จ จะปรากฏประโยคตัวอักษรสีเทาว่า 噴進弾幕成功
- โอกาสทำงานสำเร็จของระบบนี้ สามารถคำนวณได้จากสูตร = {(ค่าปรับเปลี่ยน AA + ค่าโชค) / 282} x 100 [%]
- ในกรณีที่ติด 12cm30連装噴進砲改二 2 อันจะได้โอกาสเพิ่ม +15%
- เฉพาะชั้นอิเสะที่จะได้โอกาสเพิ่ม +25% ในกรณีที่ติด 12cm30連装噴進砲改二 1 อัน
- 12cm30連装噴進砲改二 ที่ได้รับการพัฒนาอาวุธแล้วจะช่วยเพิ่มโอกาสทำงานสำเร็จด้วย (อ้างอิง)
- เกี่ยวกับค่าปรับเปลี่ยน AA สามารถอ่านได้ที่หัวข้อ การต่อต้านอากาศยานจากกองเรือ