ระบบกองเรือผสม
ระบบกองเรือผสม (連合艦隊 rengou kantai) เป็นระบบที่เข้ามาครั้งแรกเมื่ออีเวนท์ฤดูร้อน 2014 (อีเวนท์ AL/MI) โดยเป็นระบบที่ทำให้สามารถใช้สองกองเรือออกรบได้ (กองเรือหลัก, 2 สามารถใส่เรือได้สูงสุด 12 ลำ) ปัจจุบันระบบนี้ยังคงมีให้ใช้ในอีเวนท์เท่านั้น
ผู้เล่นสามารถจัดตั้งกองเรือผสมได้ด้วยการลากไอคอน "/2" ไปทับไอคอน "/1" ในหน้าจัดการกองเรือ จากนั้นจะมีกล่องถามว่าต้องการเลือกกองเรือผสมรูปแบบไหนระหว่างซ้าย คิโดบุไต (機動部隊) กับขวา ซุยโจบุไต (水上部隊) และล่าง ยูโซโกเอบุไต (輸送護衛部隊) จากนั้นจะมีหน้าต่างแสดงกองเรือให้กดยืนยัน แต่หากจัดผิดเงื่อนไขจะมีแถบสีแดงพร้อมข้อความเตือน อนึ่ง สำหรับระบบกองเรือผสมนั้นกองเรือที่ 1 นั้นจะเป็นกองเรือหลัก ส่วนกองเรือที่ 2 จะเป็นกองเรือคุ้มกันโดยอัตโนมัติ
เมื่อจัดตั้งเสร็จแล้วจะมีกรอบล้อมไอคอน "/1" + "/2" แล้วมีคำว่า "combined" ปรากฏอยู่ โดยกรอบนี้จะหายไปเมื่อกองเรือที่ 1 หรือ 2 มีการจัดเรือไม่ตรงตามเงื่อนไขของการจัดกองเรือผสมหรือทำการคลิกซ้ำที่กรอบเพื่อยกเลิกการจัดตั้งกองเรือผสม
กองเรือผสมแบบคิโดบุไตนั้นถูกเพิ่มเข้าเกมมาตั้งแต่อีเวนท์ฤดูร้อน 2014 ส่วนกองเรือผสมแบบซุยโจบุไตนั้นถูกเพิ่มเข้าเกมมาตั้งแต่อีเวนท์ฤดูใบไม้ร่วง 2014 และกองเรือผสมแบบยูโซโกเอบุไตนั้นถูกเพิ่มเข้าเกมมาตั้งแต่อีเวนท์ฤดูใบไม้ร่วง 2015
ประเภทของกองเรือผสม
คิโดบุไต (機動部隊)
จะเน้นเรือบรรทุกเครื่องบินเป็นหลักและจะเริ่มสู้ด้วยกองเรือคุ้มกันก่อนเสมอ
กองเรือหลัก | |||
---|---|---|---|
ประเภทเรือ | ขั้นต่ำ (ลำ) | สูงสุด (ลำ) | หมายเหตุ |
CV | 2 | 4 | CV, CVL นับรวมกัน |
BB(V) | 0 | 2 | |
SS | 4 | ตั้งเป็นเรือธงไม่ได้ | |
อื่นๆ | 4 | ||
กองเรือคุ้มกัน | |||
ประเภทเรือ | ขั้นต่ำ (ลำ) | สูงสุด (ลำ) | หมายเหตุ |
CL | 1 | 1 | บังคับต้องมี 1 ลำ ห้ามเกินกว่านี้ |
DD | 2 | 5 | |
CA(V) | 0 | 2 | |
AV | 1 | ||
FBB | 2 | กองเรือคุ้มกันใส่ BB ช้าไม่ได้ ยกเว้น กันกุต ที่สามารถใส่ได้ | |
SS | 3 | ตั้งเป็นเรือธงไม่ได้ | |
อื่นๆ | 3 | CLT, CVL, CT กองเรือคุ้มกันใส่ CV ไม่ได้ |
ซุยโจบุไต (水上部隊)
จะเน้นการสู้ด้วยปืนและตอร์ปิโดเป็นหลักและจะเริ่มสู้ด้วยกองเรือหลัก ก่อนเสมอ
กองเรือหลัก | |||
---|---|---|---|
ประเภทเรือ | ขั้นต่ำ (ลำ) | สูงสุด (ลำ) | หมายเหตุ |
CL | 2 | 6 | CT ไม่นับเป็น CL CLT นับเป็น CL |
CA(V) | 4 | ||
BB(V) | 4 | ||
CV | 0 | 1 | ลงคู่กับ CVL ไม่ได้ |
CVL | 2 | ลงคู่กับ CV ไม่ได้ | |
SS | 4 | ตั้งเป็นเรือธงไม่ได้ | |
อื่นๆ | 4 | ||
กองเรือคุ้มกัน | |||
ประเภทเรือ | ขั้นต่ำ (ลำ) | สูงสุด (ลำ) | หมายเหตุ |
CL | 1 | 1 | บังคับต้องมี 1 ลำ ห้ามเกินกว่านี้ |
DD | 2 | 5 | |
CA(V) | 0 | 2 | |
AV | 1 | ||
CVL | 1 | กองเรือคุ้มกันใส่ CV ไม่ได้ | |
FBB | 2 | กองเรือคุ้มกันใส่ BB ช้าไม่ได้ ยกเว้น กันกุต ที่สามารถใส่ได้ | |
SS | 3 | ตั้งเป็นเรือธงไม่ได้ | |
อื่นๆ | 3 | CLT, CT |
ยูโซโกเอบุไต (輸送護衛部隊)
ใช้สำหรับภารกิจขนส่งเสบียง และจะเริ่มสู้ด้วยกองเรือคุ้มกันก่อนเสมอ
กองเรือหลัก | |||
---|---|---|---|
ประเภทเรือ | ขั้นต่ำ (ลำ) | สูงสุด (ลำ) | หมายเหตุ |
DD + DE | 4 | 6 | |
CL, CT | 0 | 2 | |
CAV | 0 | 2 | |
BBV | 0 | 2 | |
AV | 0 | 2 | |
LHA | 0 | 1 | อากิสึมารุ |
AS | 0 | 1 | ไทเก |
AO | 0 | 1 | ฮายาซุย |
CVL | 0 | 1 | เฉพาะ ไทโย, แกมเบียร์ เบย์, ซุยโฮ ไคนิโอทสึ เท่านั้น คาสุกะมารุไม่สามารถใช้ได้ |
อื่นๆ | 0 | 0 | ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ไม่สามารถใช้ได้ |
กองเรือคุ้มกัน | |||
ประเภทเรือ | ขั้นต่ำ (ลำ) | สูงสุด (ลำ) | หมายเหตุ |
CL, CT | 1 | 2 | บังคับต้องมี 1 ลำเป็นเรือธง |
DD | 3 | 5 | |
CA(V) | 0 | 2 | ผสม CA, CAV ได้ |
อื่นๆ | 0 | 0 | ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ไม่สามารถใช้ได้ |
ฟอร์เมชั่นของกองเรือผสม
- กองเรือผสมจะคิดดาเมจของการรบน่านฟ้าด้วยสูตรเดียวกันกับเฟสการรบน่านฟ้าของกองเรือปกติ
- กองเรือคุ้มกันจะมีความแม่นยำในการต่อต้านเรือดำน้ำสูงกว่ากองเรือหลัก
- ความแม่นยำในการต่อต้านเรือดำน้ำมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันกับตัวแก้ไขดาเมจสำหรับการต่อต้านเรือดำน้ำของแต่ละฟอร์เมชั่น (ฟอร์เมชั่นที่ 4 แย่ที่สุดและฟอร์เมชั่นที่ 1 ดีที่สุด)
- ในกรณีที่เป็นโหนดที่เริ่มด้วยศึกกลางคืนนั้น จะไม่มีให้เลือกฟอร์เมชั่นของกองเรือผสม แต่จะให้เลือกเป็นฟอร์เมชั่นของกองเรือปกติแทน
คิโดบุไต-กองเรือหลัก
ฟอร์เมชั่น | ตัวแก้ไขดาเมจ | อัตราความแม่นยำ | อัตราการหลบหลีก | ตัวแก้ไข AA | อัตราการคุ้มกันเรือธง | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | ASW | ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | ASW | ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | |||
ฟอร์เมชั่นที่ 1 | 0.8 เท่า (80%) |
- | 1.3 เท่า (130%) |
? | - | ? | ? | - | 1.1 เท่า (110%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 2 | 1.0 เท่า (100%) |
- | 1.1 เท่า (110%) |
ปานกลาง? | - | ? | ? | - | 1.0 เท่า (100%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 3 | 0.7 เท่า (70%) |
- | 1.0 เท่า (100%) |
? | - | ? | ? | - | 1.5 เท่า (150%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 4 | 1.1 เท่า (110%) |
- | 0.7 เท่า (70%) |
ปานกลาง? | - | ? | ? | - | 1.0 เท่า (100%) |
? |
คิโดบุไต-กองเรือคุ้มกัน
ฟอร์เมชั่น | ตัวแก้ไขดาเมจ | อัตราความแม่นยำ | อัตราการหลบหลีก | ตัวแก้ไข AA | อัตราการคุ้มกันเรือธง | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | ASW | ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | ASW | ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | |||
ฟอร์เมชั่นที่ 1 | 0.8 เท่า (80%) |
0.7 เท่า (70%) |
1.3 เท่า (130%) |
? | ? | ? | ? | ? | 1.1 เท่า (110%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 2 | 1.0 เท่า (100%) |
0.9 เท่า (90%) |
1.1 เท่า (110%) |
ต่ำ? | สูง? | ? | ? | ? | 1.0 เท่า (100%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 3 | 0.7 เท่า (70%) |
0.6 เท่า (60%) |
1.0 เท่า (100%) |
? | ? | ? | ? | ? | 1.5 เท่า (150%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 4 | 1.1 เท่า (110%) |
1.0 เท่า (100%) |
0.7 เท่า (70%) |
ต่ำ? | สูงมาก? | ? | ? | ? | 1.0 เท่า (100%) |
? |
ซุยโจบุไต-กองเรือหลัก
ฟอร์เมชั่น | ตัวแก้ไขดาเมจ | อัตราความแม่นยำ | อัตราการหลบหลีก | ตัวแก้ไข AA | อัตราการคุ้มกันเรือธง | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | ASW | ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | ASW | ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | |||
ฟอร์เมชั่นที่ 1 | 0.8 เท่า (80%) |
- | 1.3 เท่า (130%) |
ต่ำ? | - | สูง? | ? | - | 1.1 เท่า (110%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 2 | 1.0 เท่า (100%) |
- | 1.1 เท่า (110%) |
ต่ำ? | - | ปานกลาง? | ? | - | 1.0 เท่า (100%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 3 | 0.7 เท่า (70%) |
- | 1.0 เท่า (100%) |
ต่ำ? | - | ปานกลาง? | ? | - | 1.5 เท่า (150%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 4 | 1.1 เท่า (110%) |
- | 0.7 เท่า (70%) |
ต่ำ? | - | ต่ำ? | ? | - | 1.0 เท่า (100%) |
? |
ซุยโจบุไต-กองเรือคุ้มกัน
ฟอร์เมชั่น | ตัวแก้ไขดาเมจ | อัตราความแม่นยำ | อัตราการหลบหลีก | ตัวแก้ไข AA | อัตราการคุ้มกันเรือธง | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | ASW | ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | ASW | ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | |||
ฟอร์เมชั่นที่ 1 | 0.8 เท่า (80%) |
0.7 เท่า (70%) |
1.3 เท่า (130%) |
ปานกลาง? | ปานกลาง? | สูงมาก? | ? | ? | 1.1 เท่า (110%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 2 | 1.0 เท่า (100%) |
0.9 เท่า (90%) |
1.1 เท่า (110%) |
ปานกลาง? | สูง? | สูงมาก? | ? | ? | 1.0 เท่า (100%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 3 | 0.7 เท่า (70%) |
0.6 เท่า (60%) |
1.0 เท่า (100%) |
ต่ำ? | ต่ำมาก? | สูง? | ? | ? | 1.5 เท่า (150%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 4 | 1.1 เท่า (110%) |
1.0 เท่า (100%) |
0.7 เท่า (70%) |
ปานกลาง? | สูงมาก? | ต่ำ? | ? | ? | 1.0 เท่า (100%) |
? |
ยูโซโกเอบุไต-กองเรือหลัก
ฟอร์เมชั่น | ตัวแก้ไขดาเมจ | อัตราความแม่นยำ | อัตราการหลบหลีก | ตัวแก้ไข AA | อัตราการคุ้มกันเรือธง | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | ASW | ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | ASW | ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | |||
ฟอร์เมชั่นที่ 1 | 0.8 เท่า (80%) |
- | 1.3 เท่า (130%) |
? | - | ? | ? | - | 1.1 เท่า (110%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 2 | 1.0 เท่า (100%) |
- | 1.1 เท่า (110%) |
? | - | ? | ? | - | 1.0 เท่า (100%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 3 | 0.7 เท่า (70%) |
- | 1.0 เท่า (100%) |
? | - | ? | ? | - | 1.5 เท่า (150%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 4 | 1.1 เท่า (110%) |
- | 0.7 เท่า (70%) |
? | - | ? | ? | - | 1.0 เท่า (100%) |
? |
ยูโซโกเอบุไต-กองเรือคุ้มกัน
ฟอร์เมชั่น | ตัวแก้ไขดาเมจ | อัตราความแม่นยำ | อัตราการหลบหลีก | ตัวแก้ไข AA | อัตราการคุ้มกันเรือธง | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | ASW | ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | ASW | ปืนใหญ่ | ตอร์ปิโด | |||
ฟอร์เมชั่นที่ 1 | 0.8 เท่า (80%) |
0.7 เท่า (70%) |
1.3 เท่า (130%) |
? | ? | ? | ? | ? | 1.1 เท่า (110%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 2 | 1.0 เท่า (100%) |
0.9 เท่า (90%) |
1.1 เท่า (110%) |
? | ? | ? | ? | ? | 1.0 เท่า (100%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 3 | 0.7 เท่า (70%) |
0.6 เท่า (60%) |
1.0 เท่า (100%) |
? | ? | ? | ? | ? | 1.5 เท่า (150%) |
? |
ฟอร์เมชั่นที่ 4 | 1.1 เท่า (110%) |
1.0 เท่า (100%) |
0.7 เท่า (70%) |
? | ? | ? | ? | ? | 1.0 เท่า (100%) |
? |
สูตรพลังโจมตีพื้นฐานของกองเรือผสม
การคำนวณหลักๆ แล้วจะเหมือนกันกับสูตรหลักของการคำนวณดาเมจ แต่จะมีเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- ค่าแฟ็คเตอร์กองเรือผสมนั้นจะถูกคิดเข้าไปในสูตรพลังโจมตีพื้นฐานของของกองเรือผสมก่อนที่จะมีการคูณด้วยตัวแก้ไขของฟอร์เมชั่น (ซึ่งสำหรับระบบกองเรือผสมจะต้องคิดตัวแก้ไขฟอร์เมชั่นของระบบกองเรือผสมเท่านั้น)
- การคำนวณด้านล่างนี้สำหรับการต่อสู้กับกองเรือปกติของศัตรูเท่านั้น (6 ลำ) ในกรณีของการต่อสู้กับกองเรือผสมของศัตรู (12 ลำ) นั้นยังต้องรอข้อมูลเพิ่มเติม
เฟสระดมยิงปืนใหญ่ (เรือบรรทุกเครื่องบิน)
พลังโจมตีพื้นฐาน = [(ค่าปืนใหญ่ + ค่าตอร์ปิโด + [ค่าทิ้งระเบิด × 1.3] + โบนัสจากการพัฒนาอาวุธ + ค่าแฟ็คเตอร์กองเรือผสม) × 1.5] + 55
เฟสระดมยิงปืนใหญ่ (ประเภทอื่น)
พลังโจมตีพื้นฐาน = ค่าปืนใหญ่ + โบนัสจากการพัฒนาอาวุธ + ค่าแฟ็คเตอร์กองเรือผสม + 5
เฟสตอร์ปิโด
พลังโจมตีพื้นฐาน = ค่าตอร์ปิโด + โบนัสจากการพัฒนาอาวุธ + ค่าแฟ็คเตอร์กองเรือผสม + 5
ค่าแฟ็คเตอร์กองเรือผสม
กรณีฝั่งเราเป็นกองเรือผสม ส่วนฝั่งศัตรูเป็นกองเรือปกติ
คิโดบุไต | ซุยโจบุไต | ยูโซโกเอบุไต | ||
---|---|---|---|---|
เฟสระดมยิงปืนใหญ่ของกองเรือหลัก | ฝั่งเรา | +2 | +10 | -5 |
ฝั่งศัตรู | +10 | +5 | +10 | |
เฟสระดมยิงปืนใหญ่ของกองเรือคุ้มกัน | ฝั่งเรา | +10 | -5 | +10 |
ฝั่งศัตรู | +5 | -5 | +5 |
- เฟสตอร์ปิโดนั้น ทั้งฝั่งเราและฝั่งศัตรูจะมีค่าแฟ็คเตอร์กองเรือผสม = -5
กรณีฝั่งเราเป็นกองเรือปกติ ส่วนฝั่งศัตรูเป็นกองเรือผสม
กองเรือปกติ | ||
---|---|---|
เฟสระดมยิงปืนใหญ่ของกองเรือหลักศัตรู | ฝั่งเรา | +5 |
ฝั่งศัตรู | +10 | |
เฟสระดมยิงปืนใหญ่ของกองเรือคุ้มกันศัตรู | ฝั่งเรา | +5 |
ฝั่งศัตรู | -5 |
- เฟสตอร์ปิโดนั้น ทั้งฝั่งเราและฝั่งศัตรูจะมีค่าแฟ็คเตอร์กองเรือผสม = +10
กรณีฝั่งเราเป็นกองเรือผสม ส่วนฝั่งศัตรูเป็นกองเรือผสม
คิโดบุไต | ซุยโจบุไต | ยูโซโกเอบุไต | ||
---|---|---|---|---|
เฟสระดมยิงปืนใหญ่ของกองเรือหลัก | ฝั่งเรา | +2 | +2 | -5 |
ฝั่งศัตรู | +10 | +10 | +10 | |
เฟสระดมยิงปืนใหญ่ของกองเรือคุ้มกัน | ฝั่งเรา | -5 | -5 | -5 |
ฝั่งศัตรู | -5 | -5 | -5 |
- เฟสตอร์ปิโดนั้น ทั้งฝั่งเราและฝั่งศัตรูจะมีค่าแฟ็คเตอร์กองเรือผสม = +10
การต่อต้านอากาศยานจากกองเรือของกองเรือผสม
หลักๆ จะคล้ายกับการคำนวณของกองเรือปกติ อ่านเพิ่มเติมได้ที่การต่อต้านอากาศยานจากกองเรือ
สูตรการยิงเครื่องบินตกแบบสัดส่วน [ลำ] = (ค่าปรับเปลี่ยน AA x ตัวแก้ไขกองเรือผสม / 400) x จำนวนเครื่องบินที่เหลืออยู่ของเป้าหมาย (เศษปัดลง)
สูตรการยิงเครื่องบินตกแบบคงที่ [ลำ] = [(ค่าปรับเปลี่ยน AA + ค่า AA กองเรือ) x ตัวแก้ไขกองเรือผสม x โบนัสคัทอิน AA แบบแปรปรวน] / 10 (เศษปัดลง)
ในส่วนของสูตรค่าปรับเปลี่ยน AA จะคิดด้วยสูตรเดียวกันกับกองเรือปกติ แต่สูตรค่า AA กองเรือ จะมีเพิ่มเติมเล็กน้อยดังต่อไปนี้
สูตรค่า AA กองเรือ = [ตัวแก้ไขจากฟอร์เมชั่น x (ผลรวมของโบนัสค่า AA ของเรือทุกลำในกองเรือหลักและกองเรือคุ้มกัน)] x (2 / 1.3) (เศษปัดลง)
- โบนัสค่า AA ของเรือทุกลำในกองเรือยังคงคิดด้วยสูตรเดียวกันกับกองเรือปกติ
ตัวแก้ไขกองเรือผสม
โหนดการรบปกติ | โหนดลอบโจมตีทางอากาศ | |||
---|---|---|---|---|
กองเรือหลัก | กองเรือคุ้มกัน | กองเรือหลัก | กองเรือคุ้มกัน | |
ฝั่งเรา | 0.8 | 0.48 | 0.72 | 0.48 |
ฝั่งศัตรู | 0.8 | 0.48 | - | - |
ตัวแก้ไขจากฟอร์เมชั่น
ฟอร์เมชั่น | ตัวแก้ไข |
---|---|
ฟอร์เมชั่นที่ 2, ฟอร์เมชั่นที่ 4 | 1.0 เท่า (100%) |
ฟอร์เมชั่นที่ 1 | 1.1 เท่า (110%) |
ฟอร์เมชั่นที่ 3 | 1.5 เท่า (150%) |
เพิ่มเติม:
- กองเรือผสมจะมีข้อแตกต่างจากกองเรือปกติดังนี้
- ตัวแก้ไขจากฟอร์เมชั่นกับตัวแก้ไขกองเรือผสม
- เรือที่ถอนกำลัง (ซึ่งถูกส่งกลับด้วย 艦隊司令部施設) นั้น ค่า AA กองเรือของเรือลำนั้นจะไม่ถูกนำมาคำนวณ
ลำดับเฟสการโจมตี
การทำงานของกองเรือผสม
การทำงาน | กองเรือหลัก | กองเรือคุ้มกัน | |
---|---|---|---|
การรบน่านฟ้า | ปะทะกองเรือปกติ | O | X |
ปะทะกองเรือผสม | O | O | |
คัทอินต่อต้านอากาศยาน (คัทอิน AA) | O | O | |
โจมตีเรือดำน้ำเมื่อเริ่มการรบ | X | O | |
ยิงตอร์ปิโดเปิดฉาก | X | O | |
การทำงานของ 彩雲 | O | ? | |
เฟสระดมยิงปืนใหญ่ | คิโดบุไต/ยูโซโกเอบุไต | ยิงหลัง | ยิงก่อน |
ซุยโจบุไต | ยิงก่อน | ยิงหลัง | |
เฟสระดมยิงปืนใหญ่รอบสอง | O (ต้องมี BB) |
X | |
ยิงตอร์ปิโดปิดฉาก | X | O | |
ศึกกลางคืน | X | O | |
การทำงานของ 九八式水上偵察機(夜偵) | X | O |
คิโดบุไต/ยูโซโกเอบุไตปะทะกองเรือปกติศัตรู
ลำดับเฟส | รายละเอียด |
---|---|
การค้นหาศัตรู | ไม่มีอะไรแตกต่างจากการรบปกติ |
การสนับสนุนจากฐานทัพอากาศ | จะปรากฏขึ้นเมื่อทำการส่งกองบินในโหมดโจมตีไว้ (เฉพาะโหนดที่เลือกไว้) |
การรบน่านฟ้า | มีเพียงเรือในกองเรือหลัก เท่านั้นที่จะสามารถปล่อยเครื่องบินในเฟสนี้ได้ แต่เรือทุกลำในกองเรือสามารถยิงต่อต้านเครื่องบินได้หมด |
การรบเปิดฉาก | ยิงสนับสนุน กองเรือที่ส่งสำรวจเพื่อยิงสนับสนุนจะมาช่วยยิง สามารถอ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่การยิงสนับสนุน โจมตีเรือดำน้ำเมื่อเริ่มการรบ ยิงตอร์ปิโดเปิดฉาก รูปแบบการเข้าปะทะ |
กองเรือคุ้มกันยิงปืนใหญ่ | กองเรือคุ้มกันจะโจมตีโดยจะไล่ลำดับไปตามระยะการยิงของเรือ (เรือที่มีระยะการยิงไกลที่สุดจะได้เริ่มก่อน) โดยกองเรือคุ้มกันนั้นจะทำการโจมตีเพียง 1 รอบเท่านั้น ถึงแม้ว่าคุณจะใส่ BB ไว้ในกองเรือคุ้มกันด้วยก็ตาม ที่สำคัญกองเรือคุ้มกันสามารถยิงตอร์ปิโดปิดฉากได้ |
กองเรือหลัก ยิงปืนใหญ่ | กองเรือหลัก จะโจมตีโดยจะไล่ลำดับไปตามระยะการยิงของเรือในรอบแรกและไล่ตามลำดับจากบนลงล่างในรอบสอง (รอบสองนั้นจะยิงก็ต่อเมื่อคุณหรือศัตรูใส่ BB อย่างน้อยหนึ่งลำไว้ในกองเรือหลัก เท่านั้น) |
ศึกกลางคืน | กองเรือหลัก จะถอยออกจากฉากไป มีเพียงกองเรือคุ้มกันเท่านั้นที่รบในศึกกลางคืน โดยเงื่อนไขการสู้รบเหมือนศึกกลางคืนในการสู้รบปกติทุกประการ |
ซุยโจบุไตปะทะกองเรือปกติศัตรู
ลำดับเฟส | รายละเอียด |
---|---|
การค้นหาศัตรู | ไม่มีอะไรแตกต่างจากการรบปกติ |
การสนับสนุนจากฐานทัพอากาศ | จะปรากฏขึ้นเมื่อทำการส่งกองบินในโหมดโจมตีไว้ (เฉพาะโหนดที่เลือกไว้) |
การรบน่านฟ้า | มีเพียงเรือในกองเรือหลัก เท่านั้นที่จะสามารถปล่อยเครื่องบินในเฟสนี้ได้ แต่เรือทุกลำในกองเรือสามารถยิงต่อต้านเครื่องบินได้หมด |
การรบเปิดฉาก | ยิงสนับสนุน กองเรือที่ส่งสำรวจเพื่อยิงสนับสนุนจะมาช่วยยิง สามารถอ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่การยิงสนับสนุน โจมตีเรือดำน้ำเมื่อเริ่มการรบ ยิงตอร์ปิโดเปิดฉาก รูปแบบการเข้าปะทะ |
กองเรือหลัก ยิงปืนใหญ่ | กองเรือหลัก จะโจมตีโดยจะไล่ลำดับไปตามระยะการยิงของเรือในรอบแรกและไล่ตามลำดับจากบนลงล่างในรอบสอง (รอบสองนั้นจะยิงก็ต่อเมื่อคุณหรือศัตรูใส่ BB อย่างน้อยหนึ่งลำไว้ในกองเรือหลัก เท่านั้น) |
กองเรือคุ้มกันยิงปืนใหญ่ | กองเรือคุ้มกันจะโจมตีโดยจะไล่ลำดับไปตามระยะการยิงของเรือ (เรือที่มีระยะการยิงไกลที่สุดจะได้เริ่มก่อน) โดยกองเรือคุ้มกันนั้นจะทำการโจมตีเพียง 1 รอบเท่านั้น ถึงแม้ว่าคุณจะใส่ BB ไว้ในกองเรือคุ้มกันด้วยก็ตาม ที่สำคัญกองเรือคุ้มกันสามารถยิงตอร์ปิโดปิดฉากได้ |
ศึกกลางคืน | กองเรือหลัก จะถอยออกจากฉากไป มีเพียงกองเรือคุ้มกันเท่านั้นที่รบในศึกกลางคืน โดยเงื่อนไขการสู้รบเหมือนศึกกลางคืนในการสู้รบปกติทุกประการ |
กองเรือปกติปะทะกองเรือผสมศัตรู
ลำดับเฟส | รายละเอียด |
---|---|
การค้นหาศัตรู | ไม่มีอะไรแตกต่างจากการรบปกติ |
เครื่องบินเจ็ทโจมตี | หากมีการติดเครื่องบินเจ็ทไว้กับเรือ เครื่องบินเจ็ทจะทำการโจมตีศัตรูโดยทันที |
การสนับสนุนจากฐานทัพอากาศ | จะปรากฏขึ้นเมื่อทำการส่งกองบินในโหมดโจมตีไว้ (เฉพาะโหนดที่เลือกไว้) |
การรบน่านฟ้า | เรือที่เข้าเงื่อนไขจะสามารถปล่อยเครื่องบินในเฟสนี้ได้ แต่เรือทุกลำในกองเรือสามารถยิงต่อต้านเครื่องบินได้หมด
|
การรบเปิดฉาก | ยิงสนับสนุน กองเรือที่ส่งสำรวจเพื่อยิงสนับสนุนจะมาช่วยยิง สามารถอ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่การยิงสนับสนุน โจมตีเรือดำน้ำเมื่อเริ่มการรบ ยิงตอร์ปิโดเปิดฉาก รูปแบบการเข้าปะทะ |
ศึกกลางวัน | ยิงปืนใหญ่ระลอกที่ 1 ใส่กองเรือคุ้มกันศัตรู
จะโจมตีโดยจะไล่ลำดับไปตามระยะการยิงของเรือ ยิงตอร์ปิโดปิดฉาก ยิงปืนใหญ่ระลอกที่ 2 ใส่กองเรือหลักศัตรู ยิงปืนใหญ่ระลอกที่ 3 ใส่กองเรือหลักศัตรู |
ศึกกลางคืน | เรือที่สามารถรบกลางคืนได้จะทำการโจมตีในเฟสนี้
|
คิโดบุไต/ยูโซโกเอบุไตปะทะกองเรือผสมศัตรู
ลำดับเฟส | รายละเอียด |
---|---|
การค้นหาศัตรู | ไม่มีอะไรแตกต่างจากการรบปกติ |
การสนับสนุนจากฐานทัพอากาศ | จะปรากฏขึ้นเมื่อทำการส่งกองบินในโหมดโจมตีไว้ (เฉพาะโหนดที่เลือกไว้) |
การรบน่านฟ้า | ทั้งเรือในกองเรือหลักและกองเรือคุ้มกัน สามารถปล่อยเครื่องบินในเฟสนี้ได้ แต่เรือทุกลำในกองเรือสามารถยิงต่อต้านเครื่องบินได้หมด |
การรบเปิดฉาก | ยิงสนับสนุน กองเรือที่ส่งสำรวจเพื่อยิงสนับสนุนจะมาช่วยยิง สามารถอ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่การยิงสนับสนุน โจมตีเรือดำน้ำเมื่อเริ่มการรบ ยิงตอร์ปิโดเปิดฉาก รูปแบบการเข้าปะทะ |
กองเรือหลัก ยิงปืนใหญ่ระลอกที่ 1 | กองเรือหลัก จะโจมตีโดยจะไล่ลำดับไปตามระยะการยิงของเรือ |
กองเรือคุ้มกันยิงปืนใหญ่ | กองเรือคุ้มกันจะโจมตีโดยจะไล่ลำดับไปตามระยะการยิงของเรือ (เรือที่มีระยะการยิงไกลที่สุดจะได้เริ่มก่อน) โดยกองเรือคุ้มกันนั้นจะทำการโจมตีเพียง 1 รอบเท่านั้น ถึงแม้ว่าคุณจะใส่ BB ไว้ในกองเรือคุ้มกันด้วยก็ตาม ที่สำคัญกองเรือคุ้มกันสามารถยิงตอร์ปิโดปิดฉากได้ โดยจะเลือกยิงศัตรูทั้งสองกองเรือแบบสุ่ม |
กองเรือหลัก ยิงปืนใหญ่ระลอกที่ 2 | กองเรือหลัก จะโจมตีโดยจะไล่ลำดับจากบนลงล่างและรอบสองนั้นจะยิงก็ต่อเมื่อคุณหรือศัตรูใส่ BB อย่างน้อยหนึ่งลำไว้ในกองเรือหลัก เท่านั้น โดยจะเลือกยิงศัตรูทั้งสองกองเรือแบบสุ่ม |
ศึกกลางคืน | กองเรือหลัก จะถอยออกจากฉากไป มีเพียงกองเรือคุ้มกันเท่านั้นที่รบในศึกกลางคืน โดยเงื่อนไขการสู้รบเหมือนศึกกลางคืนในการสู้รบปกติทุกประการ
|
ซุยโจบุไตปะทะกองเรือผสมศัตรู
ลำดับเฟส | รายละเอียด |
---|---|
การค้นหาศัตรู | ไม่มีอะไรแตกต่างจากการรบปกติ |
การสนับสนุนจากฐานทัพอากาศ | จะปรากฏขึ้นเมื่อทำการส่งกองบินในโหมดโจมตีไว้ (เฉพาะโหนดที่เลือกไว้) |
การรบน่านฟ้า | ทั้งเรือในกองเรือหลักและกองเรือคุ้มกัน สามารถปล่อยเครื่องบินในเฟสนี้ได้ แต่เรือทุกลำในกองเรือสามารถยิงต่อต้านเครื่องบินได้หมด |
การรบเปิดฉาก | ยิงสนับสนุน กองเรือที่ส่งสำรวจเพื่อยิงสนับสนุนจะมาช่วยยิง สามารถอ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่การยิงสนับสนุน โจมตีเรือดำน้ำเมื่อเริ่มการรบ ยิงตอร์ปิโดเปิดฉาก รูปแบบการเข้าปะทะ |
กองเรือหลัก ยิงปืนใหญ่ระลอกที่ 1 | กองเรือหลัก จะโจมตีโดยจะไล่ลำดับไปตามระยะการยิงของเรือ |
กองเรือหลัก ยิงปืนใหญ่ระลอกที่ 2 | ระลอกที่ 2 กองเรือหลัก จะโจมตีโดยจะไล่ลำดับจากบนลงล่างและรอบสองนั้นจะยิงก็ต่อเมื่อคุณหรือศัตรูใส่ BB อย่างน้อยหนึ่งลำไว้ในกองเรือหลัก เท่านั้น โดยจะเลือกยิงศัตรูทั้งสองกองเรือแบบสุ่ม |
กองเรือคุ้มกันยิงปืนใหญ่ | กองเรือคุ้มกันจะโจมตีโดยจะไล่ลำดับไปตามระยะการยิงของเรือ (เรือที่มีระยะการยิงไกลที่สุดจะได้เริ่มก่อน) โดยกองเรือคุ้มกันนั้นจะทำการโจมตีเพียง 1 รอบเท่านั้น ถึงแม้ว่าคุณจะใส่ BB ไว้ในกองเรือคุ้มกันด้วยก็ตาม ที่สำคัญกองเรือคุ้มกันสามารถยิงตอร์ปิโดปิดฉากได้ โดยจะเลือกยิงศัตรูทั้งสองกองเรือแบบสุ่ม |
ศึกกลางคืน | กองเรือหลัก จะถอยออกจากฉากไป มีเพียงกองเรือคุ้มกันเท่านั้นที่รบในศึกกลางคืน โดยเงื่อนไขการสู้รบเหมือนศึกกลางคืนในการสู้รบปกติทุกประการ
|
ข้อมูลเพิ่มเติม
- ในเฟสการรบน่านฟ้านั้น ถ้าหากกองเรือผสมทำการปะทะกับกองเรือปกติของศัตรู จะมีเพียงเครื่องบินจากกองเรือหลัก เท่านั้นที่จะเข้าร่วมเฟสการรบน่านฟ้า
- แต่ถ้าหากกองเรือผสมทำการปะทะกับกองเรือผสมของศัตรู เครื่องบินจากกองเรือคุ้มกันจะสามารถเข้าร่วมเฟสการรบน่านฟ้าได้ด้วย
- มีเพียงกองเรือคุ้มกันเท่านั้นที่สามารถใช้ความสามารถโจมตีเรือดำน้ำเมื่อเริ่มการรบและเข้าร่วมเฟสยิงตอร์ปิโดเปิดฉากได้
- ในเฟสระดมยิงปืนใหญ่นั้น ความแม่นยำของกองเรือผสมจะต่ำมาก อันเนื่องจากเป็นการบาลานซ์การต่อสู้ระหว่าง 12 ลำ vs 6 ลำ นอกจากนี้ความแตกต่างของรูปแบบของกองเรือผสม, กองเรือหลัก และกองเรือคุ้มกันทำให้ความแม่นยำแตกต่างกันอีกด้วย
- แบบคิโดบุไตนั้น กองเรือคุ้มกันจะมีความแม่นยำที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับกองเรือปกติ (แต่กองเรือหลัก ความแม่นยำเท่าปกติ?)
- แบบซุยโจบุไตนั้น กองเรือหลัก จะมีความแม่นยำที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับกองเรือปกติ ส่วนกองเรือคุ้มกันนั้นจะมีความแม่นยำที่ต่ำลงเล็กน้อย
- และเช่นเดียวกับความแม่นยำ ด้วยความแตกต่างของรูปแบบของกองเรือผสม, กองเรือหลัก และกองเรือคุ้มกันก็ทำให้การหลบหลีกไม่เหมือนกันอีกด้วย
- แบบคิโดบุไตนั้น กองเรือคุ้มกันจะมีการหลบหลีกที่สูงกว่ากองเรือหลัก
- แบบซุยโจบุไตนั้น กองเรือหลัก จะมีการหลบหลีกที่สูงกว่ากองเรือคุ้มกัน
- กองเรือหลัก จะไม่ถูกจู่โจมด้วยตอร์ปิโดจากกองเรือปกติของศัตรู
- อาวุธยุทโธปกรณ์ของกองเรือหลัก นั้นจะไม่ส่งผลต่อศึกกลางคืน
- การโจมตีเรือดำน้ำในศึกกลางคืนนั้นไม่เหมือนกับกองเรือปกติ โดยกองเรือผสมนั้นสามารถทำดาเมจใส่เรือดำน้ำในศึกกลางคืนได้
- ในกรณีที่กองเรือไม่ได้สร้างความเสียหายแก่ศัตรูนั้น ตำแหน่ง MVP จะตกเป็นของเรือธงกองเรือนั้นโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่นกองเรือหลัก สามารถจัดการศัตรูได้หมดก่อนที่จะถึงเฟสของกองเรือคุ้มกันเรือที่ได้ MVP ของกองเรือคุ้มกันก็คือเรือธงกองเรือคุ้มกัน
- เรือธงของกองเรือคุ้มกันนั้นจะไม่มีวันจม
- แต่คุณจะไม่สามารถเข้าด่านได้ถ้าหากเรือธงของกองเรือหลัก หรือกองเรือคุ้มกันมีสภาพเสียหายปานกลางลงไป
- คุณสามารถเอาเรือชื่อเดียวกันใส่กองเรือผสมได้ ยกตัวอย่างเช่นใส่ยูดาจิลงทั้งกองเรือหลักและกองเรือคุ้มกัน
- เรือประจัญบานที่มีความเร็วช้านั้น ถ้าหากใช้ระบบเพิ่มความเร็วเรือก็จะสามารถใส่ลงกองเรือคุ้มกันของกองเรือผสมบางรูปแบบที่สามารถใช้เรือประจัญบานเร็วได้
ระบบพิเศษเฉพาะของกองเรือผสม
ระบบถอนกำลังด้วย 艦隊司令部施設
เอฟเฟค
- สามารถทำให้พาเรือที่เสียหายหนัก (เลือดแดง) กลับไปยังฐานทัพได้หนึ่งลำโดยใช้เรือพิฆาตในกองเรือคุ้มกันจำนวน 1 ลำคุ้มกันกลับไปพร้อมกัน (ทั้งคู่จะกลับฐานและไม่ได้เข้าร่วมรบในโหนดถัดๆ ไป)
- เมื่อมีการถอนกำลังเรือกลับไปแล้วในการคำนวณผลลัพธ์ทางการรบจะนับเสมือนว่าทั้งคู่ถูกจมไปแล้วและการได้แรงค์สูงสุดในการรบจะอยู่ที่ B เท่านั้นต่อให้สามารถจมศัตรูได้หมดก็ตาม (เฉพาะอีเวนท์ฤดูร้อน 2014 เท่านั้น)
- นับตั้งแต่อีเวนท์ฤดูใบไม้ร่วง 2014 เป็นต้นมา ถึงจะมีการถอนกำลังเรือกลับไปแล้วแต่การได้แรงค์สูงสุดในการรบจะเป็นเหมือนปกติ กล่าวคือสามารถทำแรงค์ A และ S ได้ตามปกติ
การใช้งาน
- ใช้งานได้เมื่อทำกองเรือผสมเท่านั้น
- จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้ให้กับเรือธงของกองเรือหลัก และจำเป็นต้องมีเรือพิฆาตที่ไม่มีสถานะเสียหายใดๆ เลยอยู่ในกองเรือด้วยอย่างน้อยหนึ่งลำ (ง่ายๆ คือเรือพิฆาตต้องเลือดเขียวเท่านั้น)
- สามารถใช้งานได้ครั้งเดียวต่อการรบหนึ่งครั้ง (ง่ายๆ คือพาเรือเสียหายกลับได้หนึ่งลำต่อหนึ่งการรบ)
- ในกรณีที่มีเรือเสียหายหนักหลายๆ ลำ การถอนกำลังกลับก็ยังคงใช้ได้เพียงแค่หนึ่งลำเท่านั้น
- เรือพิฆาตที่ถูกตั้งไว้เป็นเรือธงกองเรือคุ้มกันจะไม่สามารถเลือกให้คุ้มกันกลับได้
- เรือพิฆาตที่ถูกเลือกให้คุ้มกันกลับจะเป็นเรือพิฆาตลำบนสุดในกองเรือ (ไม่นับเรือธง) เสมอ
- หน้าจอเลือกการถอนกำลังจะปรากฏขึ้นหลังหน้าจอแสดงผลการรบ โดยจะแสดงหน้าจอนี้ก่อนหน้าจอเลือกออกรบต่อหรือกลับฐานทัพเสมอ
- ในหน้าจอเลือกการถอนกำลังนี้จะปรากฏเรือที่เสียหายหนักกับเรือพิฆาตขึ้นพร้อมกับข้อความสีเขียวและปุ่มกดสองปุ่ม โดยปุ่มทางซ้ายเป็นการให้เลือกถอนกำลังเรือกลับฐานทัพ ส่วนปุ่มทางขวาจะเป็นการเลือกออกรบต่อโดยไม่พาเรือที่เสียหายหนักกลับไปฐานทัพ
- กรณีที่มีการถอนกำลัง เรือที่เสียหายหนักและเรือพิฆาตที่ถูกพากลับไปยังฐานทัพทั้งคู่จะเสียค่าอารมณ์ไป 25 หน่วย
- เรือที่ถูกพากลับมาและเรือคุ้มกันจะเสียน้ำมันทั้งหมด
- เมื่อทำการเดินเรือต่อ เรือที่ถูกส่งกลับจะขึ้นสถานะถอนกำลัง (退避)
กองเรือผสมของศัตรู
เป็นระบบที่เพิ่มเข้ามาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2016 พร้อมกับด่าน 6-5 โดยศัตรูจะมีการจัดกองเรือแบบ 12 ลำเช่นเดียวกับระบบกองเรือผสมของฝั่งผู้เล่น และการโจมตีใส่ศัตรูจะไม่เหมือนกับการโจมตีใส่กองเรือปกติของศัตรู
- ในการต่อสู้ศึกกลางคืนนั้น หากต้องการจะต่อสู้กองเรือหลักของศัตรู จะต้องทำการจมเรือในกองเรือคุ้มกันศัตรูให้ได้จำนวนหนึ่ง (รวมเรือธงของกองเรือคุ้มกันศัตรูด้วย?) หากเรือในกองเรือคุ้มกันศัตรูเหลือมากเกินไป เมื่อเข้าสู่ศึกกลางคืน ระบบจะบังคับให้ต่อสู้กับกองเรือคุ้มกันศัตรูแทน